ชื่อ ซิน เต้า (Thai)
ชื่อ ซิน เต้า
พระธรรมาจารย์ซินเต้าได้รับเกียรติคุณและรางวัลต่างๆมากมาย ได้แก่ เมื่อปี ค.ศ. 2005 ได้รับรางวัลเกียรติคุณ “พุทธคุณูปการด้านการเผยแผ่ธรรมะดีเด่น” จากประเทศศรีลังกา และในปี ค.ศ. 2005 ได้รับรางวัล “โมติลัล เนห์รู แห่งชาติเพื่อสันติสุข การให้อภัย และความปรองดอง” จากประเทศอินเดีย ต่อมาปี ค.ศ. 2006 ได้รับรางวัลเกียรติยศ “ในฐานะผู้มีผลงานดีเด่นในการเผยแผ่พระพุทธศาสนา” จากสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา จากนั้น ปี ค.ศ. 2010 ได้รับรางวัล “ความเป็นเลิศด้านการอบรมการฝึกปฏิบัติสมาธิ” จากสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา และปี ค.ศ. 2010 ได้รับการคัดเลือก “บุคคลที่มีวิสัยทัศน์นานาศาสนาสัมพันธ์ทั่วโลก” จากวัดหลีเจี่ย สหรัฐอเมริกา ต่อมาปี ค.ศ. 2013 ได้รับรางวัล “ผู้ทำคุณประโยชน์ต่อพระพุทธศาสนา ” จากวัดบวรนิเวศราชวรวิหาร ประเทศไทย จากนั้นปี ค.ศ. 2014 ได้รับรางวัลเกียรติยศ “อาจารย์ผู้มีผลสัมฤทธิ์สูงสุดด้านการอบรมการฝึกปฏิบัติสมาธิ” จากสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา และในปี ค.ศ. 2021 ได้รับโล่ประกาศเกียรติคุณ “สาขาวรรณกรรมและศิลปะ กระทรวงวัฒนธรรมไต้หวัน ครั้งที่ 1” (พิพิธภัณฑ์ ศูนย์วัฒนธรรมท้องถิ่น และศูนย์พัฒนาชุมชน) [4]
ชีวประวัติ
สถานที่เกิด
พระธรรมาจารย์ซินเต้า เกิดเมื่อปี ค.ศ.1948 (พ.ศ.2491) ณ ตำบลไล่คำ อำเภอลาเสี้ยวไล่เต่าซัน สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา ท่านมีเชื้อสายจีนยูนนาน และมีชื่อเดิมว่า หยาง เสี่ยว เซิง [5]
ชีวิตวัยเด็ก
หลังจากที่นายหยาง เสี่ยว ไฉ บิดาของท่านถูกฆาตกรรมในปี ค.ศ. 1952 นางหลี่ ซู เจิน มารดาของท่านได้พาน้องสาว (หยาง เสี่ยว ผิง) ออกจากบ้านไปและก็ไม่ได้ข่าวจากทั้งสองคนอีกเลย ซึ่งในขณะนั้น ท่านมีอายุเพียง 4 ขวบและได้รับการเลี้ยงดูอุปการะจากคุณป้า ในเวลาต่อมาคุณป้าได้ป่วยและเสียชีวิตลง ท่านจึงเดินทางเร่ร่อนไปกับลุงเขย (อี หู หนาน) และใช้ชีวิตอาศัยตามดอยสูง หลังจากนั้น นายหลู่ ติ้ง โจว ซึ่งเป็นเพื่อนของลุงเขย มีอาชีพเป็นทหารชั้นสัญญาบัตรชักชวนให้ท่านเข้าร่วมกับทหารกองโจรเพื่อจะได้มีโอกาสศึกษาเล่าเรียน ในขณะนั้น มีทหารชั้นผู้ใหญ่ท่านหนึ่งได้เมตตาเปลี่ยนชื่อให้เป็น หยาง เจี้ยน เซิง แต่เขียนผิดเป็น “หยาง จิ้น เซิง” ต่อมาท่านได้ร่วมรบกับสงครามกองโจรบนเทือกเขาสูงบริเวณมณฑลยูนนานชายแดนประเทศจีนกับสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา ทำให้ได้เห็นถึงความโหดร้ายของสงครามและความไม่แน่นอนของชีวิตซึ่งทำให้ท่านรู้สึกเบื่อหน่ายสงครามและได้ตั้งปณิธานที่จะแสวงหาสันติภาพ
การเดินทางไปไต้หวัน
ท่านร่วมเดินทางกับทหารกองโจรยูนนาน-พม่า (กองพล 93) และเดินทางกลับไต้หวันเมื่อปี ค.ศ. 1961 และได้สมทบโครงการจัดตั้ง “ยุวชนทหาร” ในช่วงต้นปี ค.ศ. 1963 ท่านได้เข้าเรียนที่โรงเรียนชั้นประถมศึกษาถันจื่อซินซิง เมืองไถจง อย่างเป็นทางการ หลังจากนั้นได้ย้ายตามกองทัพไปที่เมืองเถาหยวน และศึกษาต่อที่โรงเรียนชั้นประถมศึกษาแห่งชาติต้าซีหยวนหลิน
เส้นทางสู่การบำเพ็ญธรรม
การนับถือพระโพธิสัตว์กวนอิมเป็นนักปราชญ์
เมื่อปี ค.ศ.1963 ท่านได้ยินพระนาม “พระโพธิสัตว์กวนอิม” เป็นครั้งแรกจากนายแพทย์ทหารจาง ฉี่ ฟู่ ในกองทัพยุวชนทหาร ทำให้ท่านรู้สึกซาบซึ้งและปลื้มปิติเป็นอย่างยิ่งจนน้ำตาไหลไม่หยุด หลังจากนั้น ท่านได้รับหนังสือสวดมนต์จากนายแพทย์จาง จึงเริ่มหัดท่องบทสวดมนต์ “มหากรุณาธารณีสูตร” ศึกษาเรื่อง “อวโลกิเตศวรสมันตมุขปริวรรต” และนิทานชาดกอย่างลึกซึ้งตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา ทำให้ท่านนับถือพระโพธิสัตว์กวนอิมเป็นนักปราชญ์เป็นยิ่งนัก ต่อมาได้รู้จักกับพระธรรมาจารย์ หย่วนกวนและพระธรรมาจารย์ฉางหยวน พร้อมทั้งเริ่มฝึกปฏิบัติพระธรรมวินัยที่วัดเฉาอินและมุ่งสู่เส้นทางด้านสาธารณกุศลตลอดชีวิต ท่านได้สักที่แขนทั้งสองข้างกับบนลำตัวด้วยคำว่า “หากข้าพเจ้ายังไม่บรรลุธรรม จักไม่ยอมหยุดความเพียรเป็นอันขาด” “มุ่งตรัสรู้เพื่อแทนคุณพระโพธิสัตว์กวนอิม” “สิ่งทั้งปวงมีความเป็นตถตา” (ตถตา แปลว่า ความเป็นอย่างนั้น ความเป็นเช่นนั้น ซึ่งเป็นอีกชื่อหนึ่งของปฏิจจสมุปบาท มีความหมายว่า เป็นไปตามปัจจัย กล่าวคือ สรรพสิ่งในโลกนี้ตกอยู่ลักษณะที่เป็นอนิจจัง ทุกขัง และอนัตตา) และสัญลักษณ์หรือเครื่องหมาย “สวัสติกะ” เป็นต้น เพื่อแสดงถึงความมุ่งมั่นและปรารถนาอันแรงกล้า
ก่อนอุปสมบท
ปี ค.ศ.1964 ท่านได้สอบเข้าเรียนที่โรงเรียนอาชีวศึกษาเกษตรหลงถาน เมืองเถาหยวน ในปีต่อมา (ค.ศ.1965) ได้ย้ายไปเรียนต่อที่โรงเรียนมัธยมกวนซี เมืองซินจู๋ และได้รับฉายาว่า “ท่านผู้แสวงบุญ” เนื่องจากท่านรับประทานอาหารมังสวิรัติ ในเวลาต่อมา ท่านได้รู้จักนักเทศน์ลัทธิอนุตตรธรรม ซึ่งมีนามว่า เซี่ย ฟ่ง อิง จึงได้เข้ารับการถือศีลกินเจและได้สัมผัสความเชื่อทางศาสนาลัทธิอนุตตรธรรม ภายหลังท่านสอบเข้าโรงเรียนนายสิบทหารบกหลงถาน เขตจงลี่ เมืองเถาหยวน และได้ร่วมก่อตั้ง “พรรคเหมยหมง” กับเพื่อนสนิทชื่อ หลี่ ฝง ชุน เมื่อปี ค.ศ. 1967 ซึ่งมีจุดประสงค์ที่จะใช้แพไม้ไผ่ล่องข้ามทะเลกลับพม่าไปด้วยกัน เพื่อเพิ่มการช่วยเหลือการปฏิบัติการของชาวพม่า หลังจากที่แพไม้ไผ่พลิกคว่ำ จึงได้เข้ามอบตัวที่สถานีตำรวจ ในขั้นแรกไม่ตัดสินโทษทางคดี แต่ท่านขอให้ถอดยศทหารและปลดออกจากราชการ และร้องขอให้เพิ่มการตัดสินโทษทางคดี จนในที่สุด ศาลตัดสินจำคุกเป็นเวลา 8 เดือน ปี ค.ศ. 1968 ท่านได้รับคำสั่งพักราชการและปลดออกจากกองทัพสมดังที่ตั้งใจไว้ หลังจากที่ท่านออกจากกองทัพ ท่านได้ประกอบอาชีพหลายประเภท เช่น กรรมกร พนักงานส่งของ กรรมกรอุตสาหกรรมใบชา ลูกจ้างร้านขายข้าวสาร ฯลฯ ได้เผชิญสภาพความเป็นอยู่ของสังคมทุกระดับชนชั้นด้วยตนเองอย่างลึกซึ้ง ขณะเดียวกัน ได้มีโอกาสสัมผัสลัทธิเต๋า ความเชื่อทางศาสนาพื้นบ้านไต้หวัน ลัทธิขงจื๊อ เป็นต้น ปี ค.ศ.1972 นายหลี่ ฝง ชุน เพื่อนสนิทได้ป่วยหนักจนเสียชีวิต ทำให้ท่านตระหนักรู้ว่า ชีวิตนี้แสนสั้น สังขารทั้งหลายไม่เที่ยง จึงตั้งปณิธานที่จะออกบวชและบำเพ็ญธรรม
อุปสมบท การปฏิบัติตามพระธรรมวินัย
ท่านเข้ารับการอุปสมบทเมื่อวันที่ 19 กันยายน ปี ค.ศ. 1973 ซึ่งตรงกับวันออกบวชของพระโพธิสัตว์กวนอิม ณ วัดโฝวกวงซัน โดยมีพระเถระซินหวินเป็นพระอุปัชฌาย์ โดยมีฉายาว่า “ฮุ่ยจง” และได้รับนามทางธรรมว่า “ซินเต้า” ได้ศึกษาพระธรรมวินัยที่มหาวิทยาลัยโฝวกวงซันฉงหลิน และในปีเดียวกันได้เข้าร่วมประกอบสังฆกรรมที่วัดฝ่าหยิน เมืองเหมียวลี่ โดยมีพระธรรมาจารย์หมิงฉาง พระธรรมาจารย์หนานถิงและพระธรรมาจารย์เต้าอัน เป็นพระธรรมาจารย์ 3 รูป และหลวงปู่เจี้ยเต๋อผู้ที่พระธรรมาจารย์ซินเต้ามีความสนิทสนมเป็นผู้จัดตั้งคณะปูรกะ และมีพระธรรมาจารย์วู่อี พระธรรมาจารย์เฉิงอี ร่วมจัดตั้งคณะปูรกะ และได้อาราธนาศีลสิกขาบทอย่างเป็นทางการ โดยได้รับศีลจากพระธรรมาจารย์ซุงเหรินไห่ (ลูกศิษย์ของพระอาจารย์เต้าหยวน) ถ่ายทอดการทำสมาธิแบบซาเซน และได้ฝึกบำเพ็ญธรรมด้วยวิธีนี้อย่างเคร่งครัด และหลาย ๆ ครั้ง ที่ท่านนั่งสมาธิยาวนานเกือบทั้งคืน การปฏิบัติและการใช้ชีวิตของท่านเป็นไปอย่างสันโดษ โดยแยกตัวออกจากมหาชนหรือคนทั่วไป ส่งผลให้ท่านปรารถนาที่จะออกธุดงค์เพื่อบำเพ็ญพรตในเวลาต่อมา
ธุดงค์
ท่านได้ออกบำเพ็ญพรตโดยเดินทางออกจากวัดโฝวกวงซันเมื่อเดือนสิงหาคม ปี ค.ศ. 1974 และเดินธุดงค์ไปที่บ้านสวนดอกกล้วยไม้ซึ่งถูกทิ้งร่างในเขตพื้นที่ว่ายซวงซี (เขตตั้นสุ่ย) กรุงไทเป ซึ่งเป็นที่อยู่ของพระธรรมาจารย์หย่วนกวน ท่านจำศีลด้วยการปลีกวิเวกเพื่อฝึกปฏิบัติสมาธิ ณ สถานที่แห่งนี้ และเริ่มปฏิบัติธุดงค์ 12 ข้อ ทำให้รู้แจ้งถึงความโดดเดี่ยวและความหวาดกลัว ซึ่งในระหว่างนั้น ท่านได้กล่าวบทกลอน 1 วรรค ว่า “จันทร์เจ้าเปล่าเปลี่ยวเมฆอ้างว้าง ได้กลิ่นธูปซึ่งยังไม่จุดอย่างเงียบๆ”
โสสานิกังคะ (ธุดงควัตร : การอยู่ป่าช้า)
ช่วงปลายเดือนกุมภาพันธ์ ปี ค.ศ. 1975 พระเถระซินหวินได้แนะนำให้ท่านจำวัดและปฏิบัติธุดงควัตรที่วัดเหลยอิน เมืองอี๋หลาน แต่เนื่องจากมีโรงงานผลิตเหล็กตั้งอยู่ด้านหลังวัดทำให้มีเสียงดังรบกวน ท่านจึงจำวัดเพียง 15 วัน จากนั้น ด้วยการแนะนำของพระเถระ ท่านได้ธุดงค์และจำวัดที่วัดไช่ไจ่หลุนหยวนหมิง หมู่บ้านเอ้อเจี๋ย อำเภอเจียวซี เมืองอี๋หลาน ซึ่งเป็นวัดที่ สร้างขึ้นเมื่อ ปี ค.ศ. 1917 ทั้งพระธรรมาจารย์ฉือหังและพระเถระซินหวินเคยธุดงค์และมาจำวัดที่วัดแห่งนี้ แต่เมื่อกาลเวลาผ่านไป อาคารและสิ่งก่อสร้างต่าง ๆ ก็ทรุดโทรมและผุพังลง ตำแหน่งที่ตั้งของวัดก็ค่อนข้างห่างไกลจากตัวเมือง ทิศเหนือของวัดเป็นที่ตั้งของสุสาน ไม่ค่อยมีคนเดินผ่าน หากแต่ตรงตามความประสงค์ของพระธรรมาจารย์ซินเต้า เมื่อวันที่ 14 มีนาคม ปี ค.ศ. 1975 พระธรรมาจารย์ซินเต้าปฏิบัติโสสานิกังคะช่วงแรกที่วัดแห่งนี้โดยการนั่งสมาธิทุกวัน จิตไร้อาวรณ์ และในปีเดียวกัน ท่านได้รับ สวี่ ชง ฉือ เป็นลูกศิษย์ ซึ่ง สวี่ ชง ฉือ นับเป็นลูกศิษย์คนแรกของท่าน
เมื่อปี ค.ศ. 1977 วัดหยวนหมิงได้รับการบูรณปฏิสังขรณ์ครั้งใหญ่ พระธรรมาจารย์ซินเต้าจึงย้ายไปจำวัดที่วัดเจดีย์หลิงซาน ซึ่งห่างออกไปจากวัดเดิม 200 เมตร คืนก่อนการย้าย ท่านได้ฝันเห็นพระเวทโพธิสัตว์สีทององค์ใหญ่ พร้อมทั้งท่องบทสวดมนต์ “วัชรปรัชญาปารมิตาสูตร” “มหากรุณาธารณีสูตร” และ “ปารมิตาหฤทัยสูตร” โดยได้ยินวลีสุดท้ายอย่างชัดเจน คือ “แสงธรรมส่องหล้า” บริเวณโดยรอบเจดีย์หลิงซานเป็นพื้นที่ป่าช้า พระธรรมาจารย์ซินเต้าเริ่มปฏิบัติโสสานิกังคะช่วงที่สอง ณ วัดแห่งนี้ โดยเน้นการปฏิบัติสมาธิ บางครั้งลงจากภูเขาแล้วไปอาบน้ำให้ผู้สูงอายุ และช่วยขนย้ายศพจากบ้านพักคนชราเหรินอ้าย พระธรรมาจารย์ซินเต้าเชื่อว่าวัดเจดีย์หลิงซานเป็นสถานที่อันทรงพลังในการฝึกปฏิบัติสมาธิตลอดชีวิต และตั้งชื่อวัดแห่งนี้ว่า “อ๋อ! พระอุโบสถหลิงซาน” วันหนึ่งที่ท่านนั่งสมาธิก็ตระหนักรู้ว่าใจกับจิตวิญญาณเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน และได้กล่าวกลอนบทหนึ่งว่า “กายนั้นสงบ ปราศจากกาย ดำรงอยู่ด้วยความว่างเปล่า มิได้แยกออกจากกัน” หลังจากนั้น ต่อกลอนอีกบทหนึ่งว่า “แสงแห่งสมาธิส่องสว่างโลกหล้า และความว่างเปล่าของร่างกายก็เป็นเช่นนี้”
ระหว่างธุดงค์ ท่านมักได้ยินเสียงสะอื้นไห้ของสรรพสัตว์จากทุกขเวทนา ท่านเกิดความเห็นอกเห็นใจ จึงท่องบทสวดมนต์ “มหากรุณาธารณีสูตร” “วัชรปรัชญาปารมิตาสูตร” วนไปเรื่อย ๆ ทุกวัน และตั้งปณิธานที่จะพาสรรพสัตว์ในอบายภูมิทั้ง 3 (อบายภูมิ 3 ในพุทธศาสนามหายาน ประกอบด้วย นิรยะ ปิตติวิสัย อสุรกาย) ให้ข้ามพ้นจากความทุกข์ทั้งปวง และก่อตั้งกลุ่มธรรมศึกษาหลิงจิวซานในเวลาต่อมา จัดพิธีบริจาคทานทิ้งกระจาดที่ลานธรรมะสุญญตา และจัดพิธีโยคะตันตระเปรตพลีในเทศกาลสารทจีนเดือน 7 ตามปฏิทินจันทรคติจีน ด้วยเหตุที่เป็นปณิธานแห่งองค์พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรที่เกิดขึ้นในครั้งนี้ ครั้งหนึ่งระหว่างฝึกปฏิบัติสมาธิ ท่านมิลาเรปะปรากฎตัว พร้อมกับวางมือลงบนศีรษะ ตั้งฉายาว่า “ผู่เหริน” เมื่อปี ค.ศ. 1979 ท่านย้ายไปจำวัดบนเขาริมทะเลสาบหลงถาน ก่อสร้าง “บ้านบนเขาดั่งเทพนิยาย” โดยแฝงไปด้วยความหมาย “เกิด แก่ เจ็บ ตาย เป็นธรรมดา เหมือนฝันดั่งเทพนิยาย” จากนั้น เริ่มปฏิบัติโสสานิกังคะช่วงที่สาม ณ บ้านบนเขาแห่งนี้ ท่านนั่งสมาธิบริเวณสุสานตอนกลางคืน เจริญสมาธิวันละ 18 ชั่วโมงขึ้นไปทุกวัน เป็นเวลา 4 ปี และได้กล่าวคาถาบทหนึ่งว่า “สมบูรณ์ เงียบสงบ ไม่หวั่นไหว ไม่มีการเกิด ไม่มีการตาย ไม่มีนิพพาน”
เนื่องจากมีชาวบ้านที่นับถือท่านเพิ่มขึ้นทุกวัน จึงต้องเพิ่มจำนวนแผ่นกระเบื้องหลังคาเพื่อสร้างพระวิหารในการศึกษาพระไตรปิฎก การบำเพ็ญธรรม และประกอบพิธีโปรดสรรพสัตว์ ท่านมักจะเห็นตัวอักษรสี่ตัว “แผ่นดิน แสงสว่าง เงียบสงบ นิรันดร” ปรากฎขณะปฏิบัติสมาธิ ดังนั้น ท่านจึงตั้งชื่อวัดใหม่แห่งนี้ว่า “วัดจี้กวง” หลังจากนั้น ท่านเข้าร่วมพิธีวงล้อแห่งเวลา หรือวั7ฏจักรเวลา นิกายกรรมะกาคิวในปี ค.ศ. 1980 และได้รับนามทางธรรมว่า “อู๋เว่ย” ยังได้รับการถ่ายทอดธรรมะจากพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรปางพระโลกนาถและมหามุทรา และในปีเดียวกันนี้ ได้รับพระธรรมาจารย์จี๋กวงเป็นศิษย์พระภิกษุรุ่นแรก และในปีค.ศ. 1981 ได้รับพระธรรมาจารย์ฝ่าซิ่งเป็นศิษย์ภิกษุณี (ภิกษุณีสงฆ์) รุ่นแรก
การจำศีลและอดอาหาร
เมื่อปลายปี ค.ศ. 1982 ท่านฝันว่ากระเพาะอาหารของท่านได้ถูกตัดทิ้ง ดังนั้น หลังจากที่ตื่นนอนแล้ว ท่านจึงตัดสินใจเริ่มฝึกอดอาหารเป็นระยะเวลานาน โดยมีหัวใจหลัก คือ การไม่รับประทานเนื้อสัตว์ตาม “ลังกาวตารสูตร” ขั้นตอนการอดอาหารและวิธีการผลิตยาลูกกลอนไป๋ฮวาหยวน ต่อมาในต้นเดือนเมษายน ปี ค.ศ. 1983 ท่านเริ่มถือศีลบำเพ็ญเพียรด้วยการปลีกวิเวกและอดอาหาร หลังจากนั้นสองสัปดาห์ ท่านได้จาริกแสวงบุญ ณ บ้านร้างบริเวณบ้านขุนนางฝ่ายบู๊ โจว เจิ้น ตง ด้วยการปลีกวิเวกและอดอาหาร ต่อมาในเดือนมิถุนายนปีเดียวกัน ท่านได้จาริกแสวงบุญที่เขาฟุหลงเหล่าหลาน นครนิวไทเป ด้วยการจำวัดถือศีลและบำเพ็ญเพียร ณ ถ้ำผู่โถวเหยียน เป็นระยะเวลากว่า 3 เดือน จากนั้น เมื่อวันที่ 21 กันยายน ซึ่งตรงกับวันไหว้พระจันทร์ ท่านได้จาริกแสวงบุญต่อ ณ ถ้ำฝ่าหัวต้ง จนกระทั่งเดือนเมษายน ปี ค.ศ. 1985 ท่านจึงเดินทางไปจาริกแสวงบุญที่ประเทศอินเดีย และนับเป็นการบำเพ็ญธรรมด้วยการถือศีล ปลีกวิเวกและอดอาหารติดต่อกันเป็นระยะเวลา 2 ปี ของท่านได้สิ้นสุดลง
การช่วยเหลือสังคม
การก่อตั้งกลุ่มธรรมศึกษาหลิงจิวซาน
เมื่อวันที่ 21 กันยายน ปี ค.ศ. 1983 ซึ่งตรงกับวันไหว้พระจันทร์ ได้มีการเริ่มการก่อสร้างวัดหลิงจิวซาน ต่อมาในวันที่ 19 มิถุนายน ตามปฏิทินจันทรคติจีน มีการทำพิธียกช่อฟ้าอุโบสถ เดิมสถานที่แห่งนี้มีชื่อว่า “วัดปู๋ต้ง” ซึ่งมีความหมายว่า วัดนิ่งหรือวัดไม่ขยับ ต่อมาได้รับการเสนอให้เปลี่ยนชื่อเป็น “ลานธรรมะสุญญตา” จากบรรดาลูกศิษย์ และได้ใช้ชื่อนี้มาจนถึงปัจจุบัน วัดหลิงจิวซานมีจำนวนพระภิกษุสงฆ์และลูกศิษย์เพิ่มมากขึ้นทั้งในประเทศและต่างประเทศ ดังนั้น ในปี ค.ศ. 1989 พระธรรมาจารย์ซินเต้าจึงก่อตั้งมูลนิธิธรรมปัญญาศึกษาหลิงจิวซาน ปี ค.ศ. 1990 ก่อตั้งสมาคมอนุรักษ์ธรรมหลิงจิวซาน ปี ค.ศ. 1994 ก่อตั้งมูลนิธิจิตอาสาหลิงจิวซานและมูลนิธิพัฒนาพิพิธภัณฑ์ศาสนาโลก และปี ค.ศ. 1997 ก่อตั้งมูลนิธิพุทธศาสนาหลิงจิวซาน และได้ทยอยสร้างวัด อาราม สำนักสงฆ์ หอประชุม ศูนย์ฝึกสมาธิ ศูนย์ปฏิบัติธรรม ฯลฯ มากกว่า 30 แห่งทั้งในประเทศและต่างประเทศ เช่น ไต้หวัน พม่า ไทย อินโดนีเซีย สิงคโปร์ มหานครนิวยอร์ก, สหรัฐอเมริกา โดยมุ่งเน้นขับเคลื่อนงานด้านธรรมะ การฝึกทำสมาธิ การกุศล วัฒนธรรมและสังคมศึกษา เพื่อทำให้ปุถุชนสามารถเข้าถึงธรรมะได้ง่าย นอกจากนี้ พระธรรมาจารย์ซินเต้ายังได้กำหนดแนวทางของวัดหลิงจิวซานไว้ คือ “เมตตาและสมาธิ” โดยสนับสนุนการทำสมาธิในชีวิตประจำวัน ซึ่งมี “วิถีชีวิตหรือแนวทางการดำเนินชีวิต คือ เนื้อนาบุญ และ การทำงาน คือ การบำเพ็ญธรรม” โดยยึดหลักโสตะซึ่งเป็นหลักอันหนึ่งของอายตนะภายใน 6 แก่นหัวใจพระโพธิสัตว์กวนอิม และการฝึกทำสมาธิที่ท่านปฏิบัติมานานหลายปี และได้คิดค้นการฝึกทำ “สมาธิเพื่อความสงบสุข” เพื่อให้เข้ากับคนยุคใหม่ โดยยึดหลักการทำสมาธิภาวนาเพื่อประสานกายและใจเข้าด้วยกัน ซึ่งทำให้เกิดสติ ปัญญา และการรับรู้สิ่งต่าง ๆ โดยที่จิตไม่คิดปรุงแต่ง
การคิดริเริ่มจัดพิธีโยคะตันตระเปรตพลี
ในระหว่างธุดงค์ พระธรรมาจารย์ซินเต้าได้ตั้งปณิธานแห่งองค์พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร เมื่อปี ค.ศ. 1994 ท่านจึงได้ชวนสามเณร 4 รูป จัดพิธีโยคะตันตระเปรตพลี ครั้งที่ 1 ที่เมืองไทจง โดยไม่ย่อท้อต่ออุปสรรคและความยากลำบากที่เข้ามาเป็นระยะเวลาหลายปี จนถึงปี ค.ศ. 2021 นับรวมแล้วท่านได้จัดพิธีโยคะตันตระเปรตพลีไปทั้งหมด 28 ครั้ง และยังคงถือปฏิบัติตามปณิธานที่ได้ตั้งไว้อย่างต่อเนื่อง อีกทั้ง ท่านได้ปฏิบัติพิธีกรรมอย่างเคร่งครัดเพื่อให้เป็นประโยชน์ทั้งในยมโลกและโลกมนุษย์เพื่อให้บรรลุเป้าหมายอย่างที่ตั้งใจไว้ นอกจากนี้ พิธีโยคะตันตระเปรตพลีของวัดหลิงจิวซาน จึงนับเป็นงานพิธีที่ใหญ่ที่สุดงานหนึ่งของทางพุทธศาสนา ในปี ค.ศ. 2013 ได้มีการจัดงานพิธีโยคะตันตระเปรตพลี ในวาระครบรอบ 20 ปี ท่านได้เขียนตัวอักษร 3 ตัว คือ “ต้า ผู่ ซือ” ซึ่งแปลว่า มหาทาน อันเป็นสาระสำคัญของพิธีโยคะตันตระเปรตพลีของวัดหลิงจิวซาน และได้กล่าวบทกลอนบทหนึ่งว่า “ช่วยเหลือสรรพสัตว์ทั้งสิบทิศให้พ้นทุกข์ ประทานความสุขเพื่อดับทุกข์ทั้งปวง กินเจเพื่อบรรลุพระสูตร ขออโหสิกรรมเพื่อเป็นการชำระจิตใจและขจัดความขุ่นข้องหมองใจ” เพื่อสะท้อนถึงจิตวิญญาณของพิธีกรรม – ความเมตตา ความเข้มงวด เคร่งครัดและความเท่าเทียมกัน
การก่อตั้งพิพิธภัณฑ์ศาสนาโลก
“ทำอย่างไรมนุษย์จึงจะสามารถได้รับประโยชน์จากศาสนาบ้าง ละทิ้งจิตแห่งการแบ่งแยก เรียนรู้ซึ่งกันและกัน ต่างคนต่างได้รับผลประโยชน์อย่างเหมาะสม ทั้งนี้ ต้องอาศัยจิตวิญญาณแห่งศาสนา คือ การเคารพและการให้อภัยซึ่งกันและกัน การดำเนินชีวิตร่วมกันแบบฉันท์พี่น้อง และเผยแพร่อุดมการณ์เพื่อสร้างความรักและสันติภาพ” โดยพระธรรมาจารย์ซินเต้าได้ยึดหลักตามแนวคิดนี้ พร้อมทั้งก่อตั้งมูลนิธิเพื่อการพัฒนาพิพิธภัณฑ์ศาสนาโลกในปี ค.ศ. 1990 ต่อมาปี ค.ศ. 1994 ได้ก่อตั้งมูลนิธิพัฒนาพิพิธภัณฑ์ศาสนาโลกอย่างเป็นทางการ นอกจากนี้ ลูกศิษย์ของพระธรรมาจารย์ซินเต้าซึ่งเป็นฆราวาส ชื่อ ชิว เจ๋อ ตง ได้ร่วมบริจาคที่ดินจำนวน 4 ไร่ ในเขตหย่งเหอ นครนิวไทเป เพื่อสร้างอาคารพิพิธภัณฑ์ศาสนาโลก และเนื่องจากพิพิธภัณฑ์ศาสนาโลกใช้ระยะเวลาในการก่อสร้างนานกว่า 10 ปี จึงสามารถเปิดได้อย่างเป็นทางการในวันที่ 9 พฤศจิกายน ค.ศ. 2001 และวันดังกล่าวยังถูกกำหนดให้เป็น “วันสมานฉันท์ศาสนาโลก” โดยมีผู้นำศาสนาและตัวแทนจำนวน 120 ท่าน จาก 38 ประเทศทั่วโลกมาที่ไต้หวันเพื่อแสดงความยินดีและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นซึ่งกันและกัน ทั้งนี้ การก่อตั้งพิพิธภัณฑ์ศาสนาโลกมีจุดประสงค์เพื่อมุ่งหวังให้ศาสนิกชนมีความเข้าใจเกี่ยวกับนานาศาสนา การเรียนรู้ที่จะให้อภัยซึ่งกันและกันระหว่างกลุ่มชาติพันธุ์ต่าง ๆ และการปฏิบัติต่อกันฉันท์พี่น้อง โดยตั้งแต่ปี ค.ศ. 2008 เป็นต้นมา ในฤดูใบไม้ผลิของทุกปีช่วงเทศกาลตรุษจีนจะมีการจัดงานขอพรเพื่อสันติภาพแห่งศาสนาโลก ซึ่งพระธรรมาจารย์ซินเต้าได้เข้าร่วมเสวนาเกี่ยวกับนานาศาสนาซึ่งเป็นอีกช่องทางหนึ่งในการปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม
การขยายงานด้านการกุศล สันติภาพ และการแลกเปลี่ยนระหว่างประเทศ
ปี ค.ศ. 1996 พระธรรมาจารย์ซินเต้าได้เดินทางไปประเทศตุรกี อิสราเอล ฯลฯ เพื่อเยี่ยมชมโบราณสถานอันศักดิ์สิทธิ์ของศาสนาอิสลาม ศาสนายิว และศาสนาบาไฮ และในปีเดียวกันนั้น ท่านได้เดินทางไปยังประเทศไทยเพื่อเข้าร่วมการประชุมศาสนาและสันติภาพในประชาคมอาเซียน ต่อมาในปี ค.ศ. 1999 ท่านเดินทางไปเคปทาวน์ ประเทศแอฟริกาใต้ เพื่อเข้าร่วมการประชุมศาสนาโลก ครั้งที่ 3 และได้กล่าวปาฐกถาหัวข้อ “พุทธศาสนาในโลกแห่งศตวรรษที่ 21 -- ความคิด ประสบการณ์ และความปรารถนาของอาตมา” และ “ความท้าทายทางจิตวิญญาณแห่งสหัสวรรษ -- ความหวังในพิพิธภัณฑ์ศาสนาโลก” ในที่ประชุม พร้อมทั้งได้เสวนากับมิตรชาวต่างชาติเกี่ยวกับแนวคิดด้านศาสนา สันติภาพ ฯลฯ นับจากนั้นเป็นต้นมา ท่านก็ได้รับเชิญให้เข้าร่วมการประชุมศาสนาโลก ครั้งที่ 4-8 เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ความเห็นระหว่างพระภิกษุกับนักวิชาการทางศาสนาจากประเทศต่าง ๆ และยังได้รับเชิญให้เข้าร่วม “การประชุมผู้นำสูงสุดแห่งศาสนาเพื่อสันติภาพในอาเซียนซัมมิทแห่งสหัสวรรษ” ในปี ค.ศ. 2000 โดยในระหว่างการประชุมดังกล่าวได้จัดให้มีการสวดมนต์ภาวนาไปด้วย ซึ่งท่านยังได้รับเชิญให้เข้าร่วมกลุ่มสันติภาพนานาศาสนาแห่งสหประชาชาติภายหลังการประชุมนั้น
ปี ค.ศ. 2002 พระธรรมาจารย์ซินเต้าได้ก่อตั้งองค์การนอกภาครัฐ “มูลนิธิสหพันธ์เพื่อความรักและสันติภาพ” ที่นครนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา เพื่อส่งเสริมการแลกเปลี่ยนและเสวนาเกี่ยวกับนานาศาสนา ในฐานะเป็นผู้ก่อตั้ง “มูลนิธิสหพันธ์เพื่อความรักและสันติภาพ” และได้รับเชิญให้เข้าร่วมการประชุมเอ็นจีโอแห่งสหประชาชาติ ครั้งที่ 55 และงานพิธีรำลึกเหตุการณ์ 9/11 ซึ่งท่านได้เข้าร่วมภาวนาพร้อมกับนายโคฟี อันนัน นักการทูตชาวกานา และอดีตเลขาธิการองค์การสหประชาชาติ ในปีเดียวกันนั้นท่านได้จัดงาน “การเสวนาระหว่างศาสนาอิสลามและศาสนาพุทธ ครั้งที่ 1” ที่มหาวิทยาลัยโคลัมเบีย สหรัฐอเมริกา โดยท่านยังคงส่งเสริมและสนับสนุนการเจรจาอย่างสันติระหว่างนานาศาสนาด้วยการปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรมตลอดหลายปีที่ผ่านมา ในปี ค.ศ. 2021 ได้จัดงาน“การเสวนาระหว่างศาสนาอิสลามและศาสนาพุทธ ครั้งที่ 17 และการเสวนาระหว่างเยาวชนมุสลิม-พุทธ ครั้งที่ 2 : การดำเนินงานนิเวศวิทยาแนวจิตวิญญาณ” โดยในช่วง 20 ปีที่ผ่านมา ท่านได้จัดงานในประเทศต่าง ๆ เช่น จาการ์ต้า (อินโดนีเซีย) ปารีส (ฝรั่งเศส) เตหะราน (อิหร่าน) บาร์เซโลนา (สเปน) ปักกิ่ง (จีน) ไทเป (ไต้หวัน) ประเทศโมร็อกโก ฯลฯ ซึ่งครอบคลุมทั้ง 3 ทวีป คือ ยุโรป เอเชีย และแอฟริกา
ปี ค.ศ. 2003 ท่านได้เข้าร่วมกล่าวปาฐกถาในการประชุมองค์การนอกภาครัฐประจำปี จัดโดยสำนักงานใหญ่องค์การสหประชาชาติ หัวข้อ “การเจรจาทางศาสนาต่อการอุทิศตนเพื่อสันติภาพ” และในปี ค.ศ. 2004 ทางพิพิธภัณฑ์ศาสนาโลกและความร่วมมือโกลเด้น สมาคมสันติภาพ และศาลาว่าการไทเป ได้ร่วมกันจัดงาน “จิตวิญญาณและความยั่งยืนของระบบนิเวศ : น้ำ -- แหล่งกำเนิดของพวกเรา” ในระหว่างการประชุมนานาชาติ ท่านได้กล่าวปาฐกถาหัวข้อ “จริยธรรมและสันติภาพโลก : หน้าที่ของศาสนาในปัจจุบัน” ต่อมาในปี ค.ศ. 2014 ท่านเดินทางไปร่วมงานเสวนา “จิตวิญญาณของมนุษย์” ที่กรุงเรคยาวิก ประเทศไอซ์แลนด์ โดยกล่าวถึงความสำคัญของความรักและสันติภาพ หลังจากนั้น ในปี ค.ศ. 2016 ท่านเดินทางไปศูนย์ส่งเสริมการเจรจานานาศาสนาและวัฒนธรรมนานาชาติ ซึ่งจัดตั้งโดยกษัตริย์อับดุลลาห์ของราชอาณาจักรซาอุดิอาระเบีย ณ กรุงเวียนนา ประเทศออสเตรีย พระธรรมาจารย์ซินเต้าได้กล่าวปาฐกถาเกี่ยวกับการรักษ์โลกและสันติภาพ และได้แบ่งปันประสบการณ์การแลกเปลี่ยนนานาศาสนาอีกด้วย
ปี ค.ศ. 2017 ท่านได้เดินทางไปนครรัฐวาติกันเพื่อเข้าพบสมเด็จพระสันตะปาปาฟรานซิส (โป๊ปฟรานซิส) ประมุขแห่งศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิก และได้เชิญพระสันตะปาปาฟรานซิสเข้าร่วมขบวนการรักษ์โลกและรักสันติภาพ ในปีเดียวกันนั้น กลุ่มธรรมศึกษาหลิงจิวซานได้รับมอบหมายให้เข้าร่วมกับคณะกรรมการสังฆราชวาติกันเพื่อร่วมจัดเสวนาการประชุมนานาชาติระหว่างพุทธ-คริสต์ศาสนิกชน ครั้งที่ 6 โดยมีสาระสำคัญ คือ “พุทธ-คริสต์ศาสนิกชนร่วมเดินเคียงบ่าเคียงไหล่เพื่อยุติการใช้ความรุนแรง” จากนั้น ปี ค.ศ. 2021 ท่านเข้าร่วมประชุมงาน “ความเชื่อกับวิทยาศาสตร์ : การประชุมสมัชชาประเทศภาคีอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ครั้งที่ 26” ที่จัดโดยสถานทูตไต้หวันประจำนครวาติกัน ณ กรุงโรม ประเทศอิตาลี และอังกฤษ โดยเสนอแนวคิด “การหวนคืนสู่จิตวิญญาณแห่งปัญญา โดยตระหนักว่าสรรพสิ่งล้วนมีรากเหง้าและมีที่มาจากที่เดียวกัน” และเน้นย้ำว่า “การยุติสงครามและอาวุธนิวเคลียร์มีความสำคัญต่อความยั่งยืนทางชีวภาพของระบบนิเวศ”
เมื่อวันที่ 3 มีนาคม ค.ศ. 2022 พระธรรมจารย์ซินเต้าได้แสดงความเห็นเกี่ยวกับสงครามรัสเซีย-ยูเครน โดยกล่าวว่า “เราควรยุติสงครามเพื่อรักษาสมดุลของระบบนิเวศ” ขณะเดียวกันท่านได้เชิญศาสนิกชนจากทุกศาสนามาร่วมกันสวดมนต์อธิษฐานจิตให้แก่ประชาชนผู้ได้รับความสูญเสียจากสงคราม [6]
ส่งเสริมงานด้านการศึกษา วัฒนธรรม และการกุศล
พระธรรมาจารย์ซินเต้ามีความห่วงใยต่อเหล่ามวลชนทั้งหลาย และมักจะให้กำลังใจแก่สามเณรว่า “ชีวิตรับใช้ชีวิต ชีวิตอุทิศแด่ชีวิต” ท่านพยายามขับเคลื่อนงานด้านการศึกษา วัฒนธรรม และการกุศลอย่างเต็มที่ ในปี ค.ศ. 1989 ได้มีการก่อตั้งมูลนิธิธรรมปัญญาศึกษาวัดหลิงจิวซาน ปี ค.ศ. 1990 ได้ก่อตั้งสมาคมอนุรักษ์ธรรมหลิงจิวซาน ปี ค.ศ. 1994 ได้ก่อตั้งมูลนิธิจิตอาสาหลิงจิวซาน ซึ่งได้รับการยกย่องหลายครั้งจากกระทรวงมหาดไทยไต้หวัน กระทรวงวัฒนธรรม ศาลาว่ากลางนครนิวไทเป อีกทั้งยังเป็นต้นแบบให้แก่กลุ่มงานศาสนาและกลุ่มงานประชาสงเคราะห์อีกด้วย ต่อมาในปี ค.ศ. 2003 ได้จัดตั้งสำนักพุทธศาสนา 3 นิกาย เพื่อเสริมสร้างแรงผลักดันและแนวทางการพัฒนาเพื่อการศึกษาของพระภิกษุ และในแต่ละปีได้มีการกำหนดวิธีปฏิบัติสมาธิด้วยวิธีปลิกวิเวกสำหรับพุทธศาสนิกชนเพื่อให้เหมาะสมและสอดคล้องกับผู้คนในแต่ละโอกาส จึงทำให้มีความหลากหลายและความยืดหยุ่น นอกจากการปฏิบัติสมาธิ จาริกแสวงบุญ การประกอบพิธีกรรมทางศาสนาแล้ว ยังได้จัดค่ายอบรมพุทธศาสนาสำหรับสามเณรน้อย ค่ายอบรมพุทธศาสนาสำหรับเยาวชน สำนักพุทธฮุ่ยมิ่งเฉิงจ่าง (แปลว่า การดำเนินชีวิตด้วยปัญญา) ศูนย์การศึกษาสันติภาพแห่งชีวิตหลงซู่ และส่งเสริมให้โรงเรียนมีการฝึกสมาธิซึ่งได้สนับสนุนมาอย่างยาวนาน เป็นต้น จากนั้น ปี ค.ศ. 2014 พระธรรมาจารย์ซินเต้าได้รวบรวมผลการบำเพ็ญธรรมทางพุทธศาสนาของท่านเป็นเวลาหลายปี เพื่อให้สอดคล้องกับธรรมะของพระพุทธเจ้า “มหานิพพาน 4 ขั้นตอน” เริ่มมีการบรรยายหลักสูตรเบื้องต้นตามที่ต่าง ๆ “มหานิพพาน 4 ขั้นตอน” ประกอบด้วย ขั้นตอนธัมมจักกัปวัตตน(อาหาน) ขั้นตอนมหาปรัชญามิตา(โปรุ่ย) ขั้นตอนสัทธรรมปุณฑริก(ฝ่าหัว) และขั้นตอนอวตังสกะ(หัวเหยียน) โดยยึดการปฏิบัติสมาธิเป็นหลัก ดำเนินการตามหลักธรรมของพระพุทธเจ้าแต่แฝงไปด้วยหลักคำสอน ระบบการฝึกอบรม การจัดการระบบและพระธรรมเทศนาสำหรับพระภิกษุและฆราวาส ไม่เพียงแต่เป็นวิถีแห่งการศึกษาหลักธรรมคำสอนเท่านั้น แต่ยังเป็นการศึกษาหนทางสู่พระนิพพานอีกด้วย
พระธรรมาจารย์ซินเต้าเชื่อว่าวัฒนธรรมสามารถช่วยขัดเกลาจิตใจคนและฟื้นฟูคุณค่าทางจริยธรรมที่หายไปให้กลับคืนมาได้ จึงได้จัดตั้งรางวัลวรรณกรรมทางศาสนาตั้งแต่ปี ค.ศ. 2002 ขณะเดียวกันได้จัดตั้งหน่วยงานสำนักพิมพ์ในเครือมูลนิธิธรรมปัญญาศึกษาวัดหลิงจิวซาน โดยจัดพิมพ์หนังสือบทสวดมนต์ หลักธรรมคำสอน หนังสือหมวดศาสนาและวิดีทัศน์ สินค้าครีเอทีฟ และได้จัดพิมพ์วารสารศาสนาด้านต่าง ๆ เช่น ด้านวิชาการ ได้แก่ วารสารรายปักษ์ “การวิจัยหลักธรรมนานาชาติ” “รวบรวมฉบับแปล” “การศึกษาและวัฒนธรรมโปรุ่ย” “คนที่มีวาสนาต่อกัน” “พิพิธภัณฑ์ศาสนา” วารสารรายครึ่งปี “การศึกษาศาสนาในโลกแห่งศตวรรษใหม่” “วิชาชีวิต” นิตยสารรายปักษ์ “สันติภาพแห่งชีวิต” วารสารรายฤดูกาล “บ้านมุ่งมั่น” เป็นต้น และจัดเสวนา กิจกรรมและนิทรรศการต่าง ๆ ปี ค.ศ. 2003 ได้จัดตั้งรางวัลผู่เหรินขึ้นเป็นพิเศษ เพื่อช่วยเหลือเด็กนักเรียนเป็นจำนวนมาก โดยในงานพิธีโยคะตันตระเปรตพลีที่จัดขึ้นทุกปีจะได้รับบริจาคข้าวสาร เกลือ น้ำมัน และสิ่งของต่าง ๆ จากสาธุชนผู้มีจิตศรัทธามาร่วมบริจาค และตลอดหลายปีที่ผ่านมาก็ได้นำของที่ได้รับบริจาคเหล่านั้นไปบริจาคให้กับองค์กรเพื่อการกุศลและครอบครัวที่มีรายได้น้อยต่อไป
นอกจากการบริจาคสิ่งของเพื่อการกุศลดังกล่าวแล้ว กลุ่มธรรมศึกษาหลิงจิวซานภายใต้การนำของพระธรรมาจารย์ซินเต้า ยังได้ประกอบพิธีจุดเทียนสวดมนต์อธิษฐานจิตทุกวันและบริจาคสิ่งของเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยจากเหตุการณ์แผ่นดินไหวครั้งใหญ่ 9/21 ในไต้หวัน การเกิดคลื่นสึนามิในมหาสมุทรอินเดีย เหตุการณ์พายุหมุนนาร์กิส เหตุการณ์แผ่นดินไหวในมณฑลเสฉวน ประเทศจีน เหตุการณ์แผ่นดินไหวที่ประเทศเฮติ และล่าสุดเหตุการณ์แผ่นดินไหวในประเทศเนปาล ซึ่งการกระทำดังกล่าวเป็นการแสดงออกถึงความรักความเมตตาโดยไม่เลือกปฏิบัติ ตั้งแต่การให้การรักษาพยาบาล คลินิกการกุศล การทำความสะอาดสิ่งแวดล้อม โครงการอาหารเช้าเติมความรัก การดูแลผู้สูงอายุที่อยู่ตามลำพัง การสร้างที่อยู่อาศัยและระบบน้ำดื่ม การสร้างที่อยู่อาศัยให้แก่เด็กกำพร้า การให้ความช่วยเหลือด้านการศึกษาและการดูแลด้านจิตวิญญาณด้วยการให้กำลังใจ ซึ่งการช่วยเหลือดังกล่าวนี้แสดงให้เห็นถึงความเห็นอกเห็นใจและความห่วงใยของพระธรรมาจารย์ซินเต้าต่อสรรพสัตว์ทั้งหลาย
ก่อตั้งมหาวิทยาลัยชีวิตและสันติภาพ (เซิงมิ่งเหอผิง)
เพื่อความอุดมสมบูรณ์ของระบบนิเวศโดยรวมของโลกและเพื่อความยั่งยืนของสิ่งมีชีวิต ความตื่นตัวต่อระบบนิเวศทางจิตวิญญาณ พระธรรมาจารย์ซินเต้าวางแผนก่อตั้งมหาวิทยาลัยชีวิตและสันติภาพแห่งหนึ่งขึ้นในสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา โดยหวังว่าจะอาศัยมหาวิทยาลัยเป็นช่องทางเชื่อมโยงผู้ที่รักษ์โลกและรักสันติภาพเพื่อความร่วมมือในการทำงาน ซึ่งตั้งอยู่บนพื้นฐานของสันติภาพโดยการทำงานในด้านต่าง ๆ ได้แก่ การศึกษา วัฒนธรรม ศาสนา การเกษตรอินทรีย์ การแพทย์ การกุศล เป็นต้น เมื่อเดือนมิถุนายน ปี ค.ศ. 2016 ได้ทำการเปิดศูนย์การศึกษาเหน่ามุนซาเอ่อ ประเทศเมียนมา (รัฐฉาน เมืองล่าเสี้ยว บ้านเหน่ามุน) พร้อมทั้งเปิดรับสมัครนักเรียนรุ่นแรกอย่างเป็นทางการและพระธรรมาจารย์ซินเต้าได้กล่าวว่า จะมีการเปิดรับสมัครนักเรียนเพิ่มในอนาคตเพื่อบ่มเพาะเมล็ดพันธุ์แห่งธรรมะและสันติภาพ ต่อมาในปี ค.ศ. 2017 ได้ก่อตั้งมหาวิทยาลัยชีวิตและสันติภาพที่แมนฮัตตัน นครนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา และในปีเดียวกันนั้น เมื่อวันที่ 29-30 พฤษภาคม และวันที่ 27-30 กันยายน ได้มีการจัดการประชุมคลังสมองของมหาวิทยาลัยชีวิตและสันติภาพ ครั้งที่ 1 ที่นครเรเกินส์บวร์ค ประเทศเยอรมัน และการประชุมคลังสมองของมหาวิทยาลัยชีวิตและสันติภาพ ครั้งที่ 2 ที่ประเทศเมียนมา ตามลำดับ
เมื่อวันที่ 8 และ 10 ตุลาคม ปี ค.ศ. 2017 กลุ่มธรรมศึกษาหลิงจิวซานได้จัดงานแสดงดนตรีชีวิตและสันติภาพขึ้น 2 รอบ ที่นครเกาสงและกรุงไทเป พระธรรมาจารย์ซินเต้าได้ประกาศอย่างเป็นทางการต่อสังคมไต้หวันในการก่อตั้งมหาวิทยาลัยชีวิตและสันติภาพ เดือนมกราคม ปี ค.ศ. 2018 นายเพียว มิน เถียน ผู้ว่าราชการเมืองย่างกุ้ง ประเทศเมียนมา ได้เข้าพบพระธรรมาจารย์ซินเต้า และสัญญาว่าจะช่วยเหลือในการก่อสร้างมหาวิทยาลัยชีวิตและสันติภาพ เดือนกุมภาพันธ์ ปี ค.ศ. 2018 ทางกลุ่มธรรมศึกษาหลิงจิวซานได้ซื้อที่ดินจำนวน 607,028 ตารางวา ที่เมืองพะโค ประเทศเมียนมา เพื่อสร้างมหาวิทยาลัยชีวิตและสันติภาพ ต่อมาวันที่ 23-24 พฤษภาคม ปี ค.ศ. 2018 ได้มีการจัดประชุมคลังสมองของมหาวิทยาลัยชีวิตและสันติภาพ ที่ประเทศออสเตรีย จากนั้น มหาวิทยาลัยชีวิตและสันติภาพจึงได้เปิดเทอมภาคฤดูหนาว รุ่น 1 ระหว่างวันที่ 9-23 มกราคม ปี ค.ศ. 2019 โดยมีสาระสำคัญ คือ “การสำรวจปัญหาที่หยั่งรากลึกของวิกฤตทางระบบนิเวศวิทยา : มุ่งสู่กลยุทธ์ใหม่” ที่เมืองย่างกุ้ง ประเทศเมียนมา ต่อมาได้เปิดเทอมภาคฤดูหนาว รุ่น 2 ระหว่างวันที่ 8-18 มกราคม ปี ค.ศ. 2020 โดยมีสาระสำคัญ คือ “การบำบัดโลก : ปฏิบัติการหมุนเวียนของระบบนิเวศและเทคโนโลยี” ที่เมืองย่างกุ้ง ประเทศเมียนมา และเปิดเทอมภาคฤดูหนาว รุ่น 3 ระหว่างวันที่ 22-23 และ 29-30 มกราคม ปี ค.ศ. 2021 ในหัวข้อ “กำหนดแผนยุทธการ : ด้วยสถานการณ์ระบบนิเวศของสิ่งแวดล้อมที่ต้องแก้ไขอย่างเร่งด่วนในปัจจุบัน เราควรกำหนดและดำเนินการให้สอดคล้องกับนโยบายอย่างไร” ผ่านการเรียนการสอนออนไลน์ ภายหลังวันที่ 8 ธันวาคม ปี ค.ศ. 2021 พระธรรมาจารย์ซินเต้ากับอธิการบดีสถาบันยูเนสโกวิศวกรรมศาสตร์สิ่งแวดล้อมทางน้ำนานาชาติแห่งประเทศเนเธอร์แลนด์ ดร. เอ็ดดี้ มัวซ์ ได้ร่วมลงนามในหนังสือให้ความร่วมมือ ว่าด้วยความร่วมมือในการดำเนินงานด้านสิ่งแวดล้อมทางน้ำ
เกียรติคุณและรางวัล
ปี ค.ศ. 2005 รางวัลเกียรติคุณ “พุทธคุณูปการด้านการเผยแผ่ธรรมะดีเด่น” จากประเทศศรีลังกา
ปี ค.ศ. 2005 รางวัล “โมติลัล เนห์รู แห่งชาติเพื่อสันติสุข การให้อภัย และความปรองดอง” จากมูลนิธิความกลมเกลียวระหว่างนานาศาสนาสัมพันธ์ ประเทศอินเดีย
ปี ค.ศ. 2006 รางวัลเกียรติยศ “ในฐานะผู้มีผลงานดีเด่นในการเผยแผ่พระพุทธศาสนา” จากสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา
ปี ค.ศ. 2010 รางวัล “ความเป็นเลิศด้านการอบรมการฝึกปฏิบัติสมาธิ” จากสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา
ปี ค.ศ. 2010 ได้รับการคัดเลือกให้เป็น “บุคคลที่มีวิสัยทัศน์นานาศาสนาสัมพันธ์ทั่วโลก” จากวัดหลีเจี่ย สหรัฐอเมริกา
ปี ค.ศ. 2013 รางวัล “ผู้ทำคุณประโยชน์ต่อพระพุทธศาสนา ” รุ่นที่ 2 จากวัดบวรนิเวศราชวรวิหาร ประเทศไทย
ปี ค.ศ. 2014 รางวัลเกียรติยศ “อาจารย์ผู้มีผลสัมฤทธิ์สูงสุดด้านการอบรมการฝึกปฏิบัติสมาธิ” จากสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา
ปี ค.ศ. 2021 โล่รางวัล “สาขาวรรณกรรมและศิลปะ กระทรวงวัฒนธรรม สาธารณรัฐจีน (ไต้หวัน) ครั้งที่ 1” (พิพิธภัณฑ์ ศูนย์วัฒนธรรมท้องถิ่น และศูนย์พัฒนาชุมชน)
หนังสือฉบับภาษาต่างประเทศ
Birds in the Heart (1999) Ling Jiou Mountain Press
วิหคในหัวใจ พิมพ์ : ปี ค.ศ. 1999 สำนักพิมพ์วัดหลิงจิวซาน
Weisheit und Barmherzigkeit (January 2001) Aquamarin Verlag GmbH
คุณธรรมกับความเมตตา พิมพ์ : มกราคม ปี ค.ศ. 2001 สำนักพิมพ์อความารีน
Mountain, Ocean, Space, People (2007) Ling Jiou Mountain Prajna Cultural and Educational Foundation
ภูเขา ทะเล สวรรค์ มนุษย์ พิมพ์ : ปี ค.ศ. 2007 สำนักพิมพ์ในเครือมูลนิธิธรรมปัญญาศึกษาวัดหลิงจิวซาน
The Way of the Heart: The Teachings of Dharma Master Hsin Tao (November 2016) CreateSpace Independent Publishing Platform
หนทางสู่จิต : สอนโดยพระธรรมาจารย์ซินเต้า พิมพ์ครั้งแรก : พฤศจิกายน ปี ค.ศ. 2016 สำนักพิมพ์ครีเอท สเปซ เสรี
The Buddhist Voyage beyond Death (November 2016) Cambridge Scholars Publishing
การแสวงบุญของชาวพุทธหลังความตาย พิมพ์ครั้งแรก : พฤศจิกายน ปี ค.ศ. 2016 สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์
The Power of Zen Meditation: Ten Spiritual Dialogues With Dharma Master Hsin Tao (September 2018) Balboa Press
พลังแห่งการนั่งสมาธิ : บันทึกการสนทนาธรรมแห่งการรู้แจ้ง10 รอบระหว่างพระอาจารย์กับศิษย์ พิมพ์ครั้งแรก กันยายน ปี ค.ศ. 2018 สำนักพิมพ์บัลบัว
Living Zen Happy Life: Timeless Zen Wisdom for your Daily Joy and Ultimate Peace (September 2021) Balboa Press
สมาธิเพื่อการมีชีวิตอย่างเป็นสุข : ปัญญาเพื่อการดำเนินชีวิตและสันติสุข พิมพ์ครั้งแรก : กันยายน ปี ค.ศ. 2021 สำนักพิมพ์บัลบัว
พระธรรมาจารย์ซินเต้าได้รับเกียรติคุณและรางวัลต่างๆมากมาย ได้แก่ เมื่อปี ค.ศ. 2005 ได้รับรางวัลเกียรติคุณ “พุทธคุณูปการด้านการเผยแผ่ธรรมะดีเด่น” จากประเทศศรีลังกา และในปี ค.ศ. 2005 ได้รับรางวัล “โมติลัล เนห์รู แห่งชาติเพื่อสันติสุข การให้อภัย และความปรองดอง” จากประเทศอินเดีย ต่อมาปี ค.ศ. 2006 ได้รับรางวัลเกียรติยศ “ในฐานะผู้มีผลงานดีเด่นในการเผยแผ่พระพุทธศาสนา” จากสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา จากนั้น ปี ค.ศ. 2010 ได้รับรางวัล “ความเป็นเลิศด้านการอบรมการฝึกปฏิบัติสมาธิ” จากสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา และปี ค.ศ. 2010 ได้รับการคัดเลือก “บุคคลที่มีวิสัยทัศน์นานาศาสนาสัมพันธ์ทั่วโลก” จากวัดหลีเจี่ย สหรัฐอเมริกา ต่อมาปี ค.ศ. 2013 ได้รับรางวัล “ผู้ทำคุณประโยชน์ต่อพระพุทธศาสนา ” จากวัดบวรนิเวศราชวรวิหาร ประเทศไทย จากนั้นปี ค.ศ. 2014 ได้รับรางวัลเกียรติยศ “อาจารย์ผู้มีผลสัมฤทธิ์สูงสุดด้านการอบรมการฝึกปฏิบัติสมาธิ” จากสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา และในปี ค.ศ. 2021 ได้รับโล่ประกาศเกียรติคุณ “สาขาวรรณกรรมและศิลปะ กระทรวงวัฒนธรรมไต้หวัน ครั้งที่ 1” (พิพิธภัณฑ์ ศูนย์วัฒนธรรมท้องถิ่น และศูนย์พัฒนาชุมชน) [4]
ชีวประวัติ
สถานที่เกิด
พระธรรมาจารย์ซินเต้า เกิดเมื่อปี ค.ศ.1948 (พ.ศ.2491) ณ ตำบลไล่คำ อำเภอลาเสี้ยวไล่เต่าซัน สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา ท่านมีเชื้อสายจีนยูนนาน และมีชื่อเดิมว่า หยาง เสี่ยว เซิง [5]
ชีวิตวัยเด็ก
หลังจากที่นายหยาง เสี่ยว ไฉ บิดาของท่านถูกฆาตกรรมในปี ค.ศ. 1952 นางหลี่ ซู เจิน มารดาของท่านได้พาน้องสาว (หยาง เสี่ยว ผิง) ออกจากบ้านไปและก็ไม่ได้ข่าวจากทั้งสองคนอีกเลย ซึ่งในขณะนั้น ท่านมีอายุเพียง 4 ขวบและได้รับการเลี้ยงดูอุปการะจากคุณป้า ในเวลาต่อมาคุณป้าได้ป่วยและเสียชีวิตลง ท่านจึงเดินทางเร่ร่อนไปกับลุงเขย (อี หู หนาน) และใช้ชีวิตอาศัยตามดอยสูง หลังจากนั้น นายหลู่ ติ้ง โจว ซึ่งเป็นเพื่อนของลุงเขย มีอาชีพเป็นทหารชั้นสัญญาบัตรชักชวนให้ท่านเข้าร่วมกับทหารกองโจรเพื่อจะได้มีโอกาสศึกษาเล่าเรียน ในขณะนั้น มีทหารชั้นผู้ใหญ่ท่านหนึ่งได้เมตตาเปลี่ยนชื่อให้เป็น หยาง เจี้ยน เซิง แต่เขียนผิดเป็น “หยาง จิ้น เซิง” ต่อมาท่านได้ร่วมรบกับสงครามกองโจรบนเทือกเขาสูงบริเวณมณฑลยูนนานชายแดนประเทศจีนกับสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา ทำให้ได้เห็นถึงความโหดร้ายของสงครามและความไม่แน่นอนของชีวิตซึ่งทำให้ท่านรู้สึกเบื่อหน่ายสงครามและได้ตั้งปณิธานที่จะแสวงหาสันติภาพ
การเดินทางไปไต้หวัน
ท่านร่วมเดินทางกับทหารกองโจรยูนนาน-พม่า (กองพล 93) และเดินทางกลับไต้หวันเมื่อปี ค.ศ. 1961 และได้สมทบโครงการจัดตั้ง “ยุวชนทหาร” ในช่วงต้นปี ค.ศ. 1963 ท่านได้เข้าเรียนที่โรงเรียนชั้นประถมศึกษาถันจื่อซินซิง เมืองไถจง อย่างเป็นทางการ หลังจากนั้นได้ย้ายตามกองทัพไปที่เมืองเถาหยวน และศึกษาต่อที่โรงเรียนชั้นประถมศึกษาแห่งชาติต้าซีหยวนหลิน
เส้นทางสู่การบำเพ็ญธรรม
การนับถือพระโพธิสัตว์กวนอิมเป็นนักปราชญ์
เมื่อปี ค.ศ.1963 ท่านได้ยินพระนาม “พระโพธิสัตว์กวนอิม” เป็นครั้งแรกจากนายแพทย์ทหารจาง ฉี่ ฟู่ ในกองทัพยุวชนทหาร ทำให้ท่านรู้สึกซาบซึ้งและปลื้มปิติเป็นอย่างยิ่งจนน้ำตาไหลไม่หยุด หลังจากนั้น ท่านได้รับหนังสือสวดมนต์จากนายแพทย์จาง จึงเริ่มหัดท่องบทสวดมนต์ “มหากรุณาธารณีสูตร” ศึกษาเรื่อง “อวโลกิเตศวรสมันตมุขปริวรรต” และนิทานชาดกอย่างลึกซึ้งตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา ทำให้ท่านนับถือพระโพธิสัตว์กวนอิมเป็นนักปราชญ์เป็นยิ่งนัก ต่อมาได้รู้จักกับพระธรรมาจารย์ หย่วนกวนและพระธรรมาจารย์ฉางหยวน พร้อมทั้งเริ่มฝึกปฏิบัติพระธรรมวินัยที่วัดเฉาอินและมุ่งสู่เส้นทางด้านสาธารณกุศลตลอดชีวิต ท่านได้สักที่แขนทั้งสองข้างกับบนลำตัวด้วยคำว่า “หากข้าพเจ้ายังไม่บรรลุธรรม จักไม่ยอมหยุดความเพียรเป็นอันขาด” “มุ่งตรัสรู้เพื่อแทนคุณพระโพธิสัตว์กวนอิม” “สิ่งทั้งปวงมีความเป็นตถตา” (ตถตา แปลว่า ความเป็นอย่างนั้น ความเป็นเช่นนั้น ซึ่งเป็นอีกชื่อหนึ่งของปฏิจจสมุปบาท มีความหมายว่า เป็นไปตามปัจจัย กล่าวคือ สรรพสิ่งในโลกนี้ตกอยู่ลักษณะที่เป็นอนิจจัง ทุกขัง และอนัตตา) และสัญลักษณ์หรือเครื่องหมาย “สวัสติกะ” เป็นต้น เพื่อแสดงถึงความมุ่งมั่นและปรารถนาอันแรงกล้า
ก่อนอุปสมบท
ปี ค.ศ.1964 ท่านได้สอบเข้าเรียนที่โรงเรียนอาชีวศึกษาเกษตรหลงถาน เมืองเถาหยวน ในปีต่อมา (ค.ศ.1965) ได้ย้ายไปเรียนต่อที่โรงเรียนมัธยมกวนซี เมืองซินจู๋ และได้รับฉายาว่า “ท่านผู้แสวงบุญ” เนื่องจากท่านรับประทานอาหารมังสวิรัติ ในเวลาต่อมา ท่านได้รู้จักนักเทศน์ลัทธิอนุตตรธรรม ซึ่งมีนามว่า เซี่ย ฟ่ง อิง จึงได้เข้ารับการถือศีลกินเจและได้สัมผัสความเชื่อทางศาสนาลัทธิอนุตตรธรรม ภายหลังท่านสอบเข้าโรงเรียนนายสิบทหารบกหลงถาน เขตจงลี่ เมืองเถาหยวน และได้ร่วมก่อตั้ง “พรรคเหมยหมง” กับเพื่อนสนิทชื่อ หลี่ ฝง ชุน เมื่อปี ค.ศ. 1967 ซึ่งมีจุดประสงค์ที่จะใช้แพไม้ไผ่ล่องข้ามทะเลกลับพม่าไปด้วยกัน เพื่อเพิ่มการช่วยเหลือการปฏิบัติการของชาวพม่า หลังจากที่แพไม้ไผ่พลิกคว่ำ จึงได้เข้ามอบตัวที่สถานีตำรวจ ในขั้นแรกไม่ตัดสินโทษทางคดี แต่ท่านขอให้ถอดยศทหารและปลดออกจากราชการ และร้องขอให้เพิ่มการตัดสินโทษทางคดี จนในที่สุด ศาลตัดสินจำคุกเป็นเวลา 8 เดือน ปี ค.ศ. 1968 ท่านได้รับคำสั่งพักราชการและปลดออกจากกองทัพสมดังที่ตั้งใจไว้ หลังจากที่ท่านออกจากกองทัพ ท่านได้ประกอบอาชีพหลายประเภท เช่น กรรมกร พนักงานส่งของ กรรมกรอุตสาหกรรมใบชา ลูกจ้างร้านขายข้าวสาร ฯลฯ ได้เผชิญสภาพความเป็นอยู่ของสังคมทุกระดับชนชั้นด้วยตนเองอย่างลึกซึ้ง ขณะเดียวกัน ได้มีโอกาสสัมผัสลัทธิเต๋า ความเชื่อทางศาสนาพื้นบ้านไต้หวัน ลัทธิขงจื๊อ เป็นต้น ปี ค.ศ.1972 นายหลี่ ฝง ชุน เพื่อนสนิทได้ป่วยหนักจนเสียชีวิต ทำให้ท่านตระหนักรู้ว่า ชีวิตนี้แสนสั้น สังขารทั้งหลายไม่เที่ยง จึงตั้งปณิธานที่จะออกบวชและบำเพ็ญธรรม
อุปสมบท การปฏิบัติตามพระธรรมวินัย
ท่านเข้ารับการอุปสมบทเมื่อวันที่ 19 กันยายน ปี ค.ศ. 1973 ซึ่งตรงกับวันออกบวชของพระโพธิสัตว์กวนอิม ณ วัดโฝวกวงซัน โดยมีพระเถระซินหวินเป็นพระอุปัชฌาย์ โดยมีฉายาว่า “ฮุ่ยจง” และได้รับนามทางธรรมว่า “ซินเต้า” ได้ศึกษาพระธรรมวินัยที่มหาวิทยาลัยโฝวกวงซันฉงหลิน และในปีเดียวกันได้เข้าร่วมประกอบสังฆกรรมที่วัดฝ่าหยิน เมืองเหมียวลี่ โดยมีพระธรรมาจารย์หมิงฉาง พระธรรมาจารย์หนานถิงและพระธรรมาจารย์เต้าอัน เป็นพระธรรมาจารย์ 3 รูป และหลวงปู่เจี้ยเต๋อผู้ที่พระธรรมาจารย์ซินเต้ามีความสนิทสนมเป็นผู้จัดตั้งคณะปูรกะ และมีพระธรรมาจารย์วู่อี พระธรรมาจารย์เฉิงอี ร่วมจัดตั้งคณะปูรกะ และได้อาราธนาศีลสิกขาบทอย่างเป็นทางการ โดยได้รับศีลจากพระธรรมาจารย์ซุงเหรินไห่ (ลูกศิษย์ของพระอาจารย์เต้าหยวน) ถ่ายทอดการทำสมาธิแบบซาเซน และได้ฝึกบำเพ็ญธรรมด้วยวิธีนี้อย่างเคร่งครัด และหลาย ๆ ครั้ง ที่ท่านนั่งสมาธิยาวนานเกือบทั้งคืน การปฏิบัติและการใช้ชีวิตของท่านเป็นไปอย่างสันโดษ โดยแยกตัวออกจากมหาชนหรือคนทั่วไป ส่งผลให้ท่านปรารถนาที่จะออกธุดงค์เพื่อบำเพ็ญพรตในเวลาต่อมา
ธุดงค์
ท่านได้ออกบำเพ็ญพรตโดยเดินทางออกจากวัดโฝวกวงซันเมื่อเดือนสิงหาคม ปี ค.ศ. 1974 และเดินธุดงค์ไปที่บ้านสวนดอกกล้วยไม้ซึ่งถูกทิ้งร่างในเขตพื้นที่ว่ายซวงซี (เขตตั้นสุ่ย) กรุงไทเป ซึ่งเป็นที่อยู่ของพระธรรมาจารย์หย่วนกวน ท่านจำศีลด้วยการปลีกวิเวกเพื่อฝึกปฏิบัติสมาธิ ณ สถานที่แห่งนี้ และเริ่มปฏิบัติธุดงค์ 12 ข้อ ทำให้รู้แจ้งถึงความโดดเดี่ยวและความหวาดกลัว ซึ่งในระหว่างนั้น ท่านได้กล่าวบทกลอน 1 วรรค ว่า “จันทร์เจ้าเปล่าเปลี่ยวเมฆอ้างว้าง ได้กลิ่นธูปซึ่งยังไม่จุดอย่างเงียบๆ”
โสสานิกังคะ (ธุดงควัตร : การอยู่ป่าช้า)
ช่วงปลายเดือนกุมภาพันธ์ ปี ค.ศ. 1975 พระเถระซินหวินได้แนะนำให้ท่านจำวัดและปฏิบัติธุดงควัตรที่วัดเหลยอิน เมืองอี๋หลาน แต่เนื่องจากมีโรงงานผลิตเหล็กตั้งอยู่ด้านหลังวัดทำให้มีเสียงดังรบกวน ท่านจึงจำวัดเพียง 15 วัน จากนั้น ด้วยการแนะนำของพระเถระ ท่านได้ธุดงค์และจำวัดที่วัดไช่ไจ่หลุนหยวนหมิง หมู่บ้านเอ้อเจี๋ย อำเภอเจียวซี เมืองอี๋หลาน ซึ่งเป็นวัดที่ สร้างขึ้นเมื่อ ปี ค.ศ. 1917 ทั้งพระธรรมาจารย์ฉือหังและพระเถระซินหวินเคยธุดงค์และมาจำวัดที่วัดแห่งนี้ แต่เมื่อกาลเวลาผ่านไป อาคารและสิ่งก่อสร้างต่าง ๆ ก็ทรุดโทรมและผุพังลง ตำแหน่งที่ตั้งของวัดก็ค่อนข้างห่างไกลจากตัวเมือง ทิศเหนือของวัดเป็นที่ตั้งของสุสาน ไม่ค่อยมีคนเดินผ่าน หากแต่ตรงตามความประสงค์ของพระธรรมาจารย์ซินเต้า เมื่อวันที่ 14 มีนาคม ปี ค.ศ. 1975 พระธรรมาจารย์ซินเต้าปฏิบัติโสสานิกังคะช่วงแรกที่วัดแห่งนี้โดยการนั่งสมาธิทุกวัน จิตไร้อาวรณ์ และในปีเดียวกัน ท่านได้รับ สวี่ ชง ฉือ เป็นลูกศิษย์ ซึ่ง สวี่ ชง ฉือ นับเป็นลูกศิษย์คนแรกของท่าน
เมื่อปี ค.ศ. 1977 วัดหยวนหมิงได้รับการบูรณปฏิสังขรณ์ครั้งใหญ่ พระธรรมาจารย์ซินเต้าจึงย้ายไปจำวัดที่วัดเจดีย์หลิงซาน ซึ่งห่างออกไปจากวัดเดิม 200 เมตร คืนก่อนการย้าย ท่านได้ฝันเห็นพระเวทโพธิสัตว์สีทององค์ใหญ่ พร้อมทั้งท่องบทสวดมนต์ “วัชรปรัชญาปารมิตาสูตร” “มหากรุณาธารณีสูตร” และ “ปารมิตาหฤทัยสูตร” โดยได้ยินวลีสุดท้ายอย่างชัดเจน คือ “แสงธรรมส่องหล้า” บริเวณโดยรอบเจดีย์หลิงซานเป็นพื้นที่ป่าช้า พระธรรมาจารย์ซินเต้าเริ่มปฏิบัติโสสานิกังคะช่วงที่สอง ณ วัดแห่งนี้ โดยเน้นการปฏิบัติสมาธิ บางครั้งลงจากภูเขาแล้วไปอาบน้ำให้ผู้สูงอายุ และช่วยขนย้ายศพจากบ้านพักคนชราเหรินอ้าย พระธรรมาจารย์ซินเต้าเชื่อว่าวัดเจดีย์หลิงซานเป็นสถานที่อันทรงพลังในการฝึกปฏิบัติสมาธิตลอดชีวิต และตั้งชื่อวัดแห่งนี้ว่า “อ๋อ! พระอุโบสถหลิงซาน” วันหนึ่งที่ท่านนั่งสมาธิก็ตระหนักรู้ว่าใจกับจิตวิญญาณเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน และได้กล่าวกลอนบทหนึ่งว่า “กายนั้นสงบ ปราศจากกาย ดำรงอยู่ด้วยความว่างเปล่า มิได้แยกออกจากกัน” หลังจากนั้น ต่อกลอนอีกบทหนึ่งว่า “แสงแห่งสมาธิส่องสว่างโลกหล้า และความว่างเปล่าของร่างกายก็เป็นเช่นนี้”
ระหว่างธุดงค์ ท่านมักได้ยินเสียงสะอื้นไห้ของสรรพสัตว์จากทุกขเวทนา ท่านเกิดความเห็นอกเห็นใจ จึงท่องบทสวดมนต์ “มหากรุณาธารณีสูตร” “วัชรปรัชญาปารมิตาสูตร” วนไปเรื่อย ๆ ทุกวัน และตั้งปณิธานที่จะพาสรรพสัตว์ในอบายภูมิทั้ง 3 (อบายภูมิ 3 ในพุทธศาสนามหายาน ประกอบด้วย นิรยะ ปิตติวิสัย อสุรกาย) ให้ข้ามพ้นจากความทุกข์ทั้งปวง และก่อตั้งกลุ่มธรรมศึกษาหลิงจิวซานในเวลาต่อมา จัดพิธีบริจาคทานทิ้งกระจาดที่ลานธรรมะสุญญตา และจัดพิธีโยคะตันตระเปรตพลีในเทศกาลสารทจีนเดือน 7 ตามปฏิทินจันทรคติจีน ด้วยเหตุที่เป็นปณิธานแห่งองค์พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรที่เกิดขึ้นในครั้งนี้ ครั้งหนึ่งระหว่างฝึกปฏิบัติสมาธิ ท่านมิลาเรปะปรากฎตัว พร้อมกับวางมือลงบนศีรษะ ตั้งฉายาว่า “ผู่เหริน” เมื่อปี ค.ศ. 1979 ท่านย้ายไปจำวัดบนเขาริมทะเลสาบหลงถาน ก่อสร้าง “บ้านบนเขาดั่งเทพนิยาย” โดยแฝงไปด้วยความหมาย “เกิด แก่ เจ็บ ตาย เป็นธรรมดา เหมือนฝันดั่งเทพนิยาย” จากนั้น เริ่มปฏิบัติโสสานิกังคะช่วงที่สาม ณ บ้านบนเขาแห่งนี้ ท่านนั่งสมาธิบริเวณสุสานตอนกลางคืน เจริญสมาธิวันละ 18 ชั่วโมงขึ้นไปทุกวัน เป็นเวลา 4 ปี และได้กล่าวคาถาบทหนึ่งว่า “สมบูรณ์ เงียบสงบ ไม่หวั่นไหว ไม่มีการเกิด ไม่มีการตาย ไม่มีนิพพาน”
เนื่องจากมีชาวบ้านที่นับถือท่านเพิ่มขึ้นทุกวัน จึงต้องเพิ่มจำนวนแผ่นกระเบื้องหลังคาเพื่อสร้างพระวิหารในการศึกษาพระไตรปิฎก การบำเพ็ญธรรม และประกอบพิธีโปรดสรรพสัตว์ ท่านมักจะเห็นตัวอักษรสี่ตัว “แผ่นดิน แสงสว่าง เงียบสงบ นิรันดร” ปรากฎขณะปฏิบัติสมาธิ ดังนั้น ท่านจึงตั้งชื่อวัดใหม่แห่งนี้ว่า “วัดจี้กวง” หลังจากนั้น ท่านเข้าร่วมพิธีวงล้อแห่งเวลา หรือวั7ฏจักรเวลา นิกายกรรมะกาคิวในปี ค.ศ. 1980 และได้รับนามทางธรรมว่า “อู๋เว่ย” ยังได้รับการถ่ายทอดธรรมะจากพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรปางพระโลกนาถและมหามุทรา และในปีเดียวกันนี้ ได้รับพระธรรมาจารย์จี๋กวงเป็นศิษย์พระภิกษุรุ่นแรก และในปีค.ศ. 1981 ได้รับพระธรรมาจารย์ฝ่าซิ่งเป็นศิษย์ภิกษุณี (ภิกษุณีสงฆ์) รุ่นแรก
การจำศีลและอดอาหาร
เมื่อปลายปี ค.ศ. 1982 ท่านฝันว่ากระเพาะอาหารของท่านได้ถูกตัดทิ้ง ดังนั้น หลังจากที่ตื่นนอนแล้ว ท่านจึงตัดสินใจเริ่มฝึกอดอาหารเป็นระยะเวลานาน โดยมีหัวใจหลัก คือ การไม่รับประทานเนื้อสัตว์ตาม “ลังกาวตารสูตร” ขั้นตอนการอดอาหารและวิธีการผลิตยาลูกกลอนไป๋ฮวาหยวน ต่อมาในต้นเดือนเมษายน ปี ค.ศ. 1983 ท่านเริ่มถือศีลบำเพ็ญเพียรด้วยการปลีกวิเวกและอดอาหาร หลังจากนั้นสองสัปดาห์ ท่านได้จาริกแสวงบุญ ณ บ้านร้างบริเวณบ้านขุนนางฝ่ายบู๊ โจว เจิ้น ตง ด้วยการปลีกวิเวกและอดอาหาร ต่อมาในเดือนมิถุนายนปีเดียวกัน ท่านได้จาริกแสวงบุญที่เขาฟุหลงเหล่าหลาน นครนิวไทเป ด้วยการจำวัดถือศีลและบำเพ็ญเพียร ณ ถ้ำผู่โถวเหยียน เป็นระยะเวลากว่า 3 เดือน จากนั้น เมื่อวันที่ 21 กันยายน ซึ่งตรงกับวันไหว้พระจันทร์ ท่านได้จาริกแสวงบุญต่อ ณ ถ้ำฝ่าหัวต้ง จนกระทั่งเดือนเมษายน ปี ค.ศ. 1985 ท่านจึงเดินทางไปจาริกแสวงบุญที่ประเทศอินเดีย และนับเป็นการบำเพ็ญธรรมด้วยการถือศีล ปลีกวิเวกและอดอาหารติดต่อกันเป็นระยะเวลา 2 ปี ของท่านได้สิ้นสุดลง
การช่วยเหลือสังคม
การก่อตั้งกลุ่มธรรมศึกษาหลิงจิวซาน
เมื่อวันที่ 21 กันยายน ปี ค.ศ. 1983 ซึ่งตรงกับวันไหว้พระจันทร์ ได้มีการเริ่มการก่อสร้างวัดหลิงจิวซาน ต่อมาในวันที่ 19 มิถุนายน ตามปฏิทินจันทรคติจีน มีการทำพิธียกช่อฟ้าอุโบสถ เดิมสถานที่แห่งนี้มีชื่อว่า “วัดปู๋ต้ง” ซึ่งมีความหมายว่า วัดนิ่งหรือวัดไม่ขยับ ต่อมาได้รับการเสนอให้เปลี่ยนชื่อเป็น “ลานธรรมะสุญญตา” จากบรรดาลูกศิษย์ และได้ใช้ชื่อนี้มาจนถึงปัจจุบัน วัดหลิงจิวซานมีจำนวนพระภิกษุสงฆ์และลูกศิษย์เพิ่มมากขึ้นทั้งในประเทศและต่างประเทศ ดังนั้น ในปี ค.ศ. 1989 พระธรรมาจารย์ซินเต้าจึงก่อตั้งมูลนิธิธรรมปัญญาศึกษาหลิงจิวซาน ปี ค.ศ. 1990 ก่อตั้งสมาคมอนุรักษ์ธรรมหลิงจิวซาน ปี ค.ศ. 1994 ก่อตั้งมูลนิธิจิตอาสาหลิงจิวซานและมูลนิธิพัฒนาพิพิธภัณฑ์ศาสนาโลก และปี ค.ศ. 1997 ก่อตั้งมูลนิธิพุทธศาสนาหลิงจิวซาน และได้ทยอยสร้างวัด อาราม สำนักสงฆ์ หอประชุม ศูนย์ฝึกสมาธิ ศูนย์ปฏิบัติธรรม ฯลฯ มากกว่า 30 แห่งทั้งในประเทศและต่างประเทศ เช่น ไต้หวัน พม่า ไทย อินโดนีเซีย สิงคโปร์ มหานครนิวยอร์ก, สหรัฐอเมริกา โดยมุ่งเน้นขับเคลื่อนงานด้านธรรมะ การฝึกทำสมาธิ การกุศล วัฒนธรรมและสังคมศึกษา เพื่อทำให้ปุถุชนสามารถเข้าถึงธรรมะได้ง่าย นอกจากนี้ พระธรรมาจารย์ซินเต้ายังได้กำหนดแนวทางของวัดหลิงจิวซานไว้ คือ “เมตตาและสมาธิ” โดยสนับสนุนการทำสมาธิในชีวิตประจำวัน ซึ่งมี “วิถีชีวิตหรือแนวทางการดำเนินชีวิต คือ เนื้อนาบุญ และ การทำงาน คือ การบำเพ็ญธรรม” โดยยึดหลักโสตะซึ่งเป็นหลักอันหนึ่งของอายตนะภายใน 6 แก่นหัวใจพระโพธิสัตว์กวนอิม และการฝึกทำสมาธิที่ท่านปฏิบัติมานานหลายปี และได้คิดค้นการฝึกทำ “สมาธิเพื่อความสงบสุข” เพื่อให้เข้ากับคนยุคใหม่ โดยยึดหลักการทำสมาธิภาวนาเพื่อประสานกายและใจเข้าด้วยกัน ซึ่งทำให้เกิดสติ ปัญญา และการรับรู้สิ่งต่าง ๆ โดยที่จิตไม่คิดปรุงแต่ง
การคิดริเริ่มจัดพิธีโยคะตันตระเปรตพลี
ในระหว่างธุดงค์ พระธรรมาจารย์ซินเต้าได้ตั้งปณิธานแห่งองค์พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร เมื่อปี ค.ศ. 1994 ท่านจึงได้ชวนสามเณร 4 รูป จัดพิธีโยคะตันตระเปรตพลี ครั้งที่ 1 ที่เมืองไทจง โดยไม่ย่อท้อต่ออุปสรรคและความยากลำบากที่เข้ามาเป็นระยะเวลาหลายปี จนถึงปี ค.ศ. 2021 นับรวมแล้วท่านได้จัดพิธีโยคะตันตระเปรตพลีไปทั้งหมด 28 ครั้ง และยังคงถือปฏิบัติตามปณิธานที่ได้ตั้งไว้อย่างต่อเนื่อง อีกทั้ง ท่านได้ปฏิบัติพิธีกรรมอย่างเคร่งครัดเพื่อให้เป็นประโยชน์ทั้งในยมโลกและโลกมนุษย์เพื่อให้บรรลุเป้าหมายอย่างที่ตั้งใจไว้ นอกจากนี้ พิธีโยคะตันตระเปรตพลีของวัดหลิงจิวซาน จึงนับเป็นงานพิธีที่ใหญ่ที่สุดงานหนึ่งของทางพุทธศาสนา ในปี ค.ศ. 2013 ได้มีการจัดงานพิธีโยคะตันตระเปรตพลี ในวาระครบรอบ 20 ปี ท่านได้เขียนตัวอักษร 3 ตัว คือ “ต้า ผู่ ซือ” ซึ่งแปลว่า มหาทาน อันเป็นสาระสำคัญของพิธีโยคะตันตระเปรตพลีของวัดหลิงจิวซาน และได้กล่าวบทกลอนบทหนึ่งว่า “ช่วยเหลือสรรพสัตว์ทั้งสิบทิศให้พ้นทุกข์ ประทานความสุขเพื่อดับทุกข์ทั้งปวง กินเจเพื่อบรรลุพระสูตร ขออโหสิกรรมเพื่อเป็นการชำระจิตใจและขจัดความขุ่นข้องหมองใจ” เพื่อสะท้อนถึงจิตวิญญาณของพิธีกรรม – ความเมตตา ความเข้มงวด เคร่งครัดและความเท่าเทียมกัน
การก่อตั้งพิพิธภัณฑ์ศาสนาโลก
“ทำอย่างไรมนุษย์จึงจะสามารถได้รับประโยชน์จากศาสนาบ้าง ละทิ้งจิตแห่งการแบ่งแยก เรียนรู้ซึ่งกันและกัน ต่างคนต่างได้รับผลประโยชน์อย่างเหมาะสม ทั้งนี้ ต้องอาศัยจิตวิญญาณแห่งศาสนา คือ การเคารพและการให้อภัยซึ่งกันและกัน การดำเนินชีวิตร่วมกันแบบฉันท์พี่น้อง และเผยแพร่อุดมการณ์เพื่อสร้างความรักและสันติภาพ” โดยพระธรรมาจารย์ซินเต้าได้ยึดหลักตามแนวคิดนี้ พร้อมทั้งก่อตั้งมูลนิธิเพื่อการพัฒนาพิพิธภัณฑ์ศาสนาโลกในปี ค.ศ. 1990 ต่อมาปี ค.ศ. 1994 ได้ก่อตั้งมูลนิธิพัฒนาพิพิธภัณฑ์ศาสนาโลกอย่างเป็นทางการ นอกจากนี้ ลูกศิษย์ของพระธรรมาจารย์ซินเต้าซึ่งเป็นฆราวาส ชื่อ ชิว เจ๋อ ตง ได้ร่วมบริจาคที่ดินจำนวน 4 ไร่ ในเขตหย่งเหอ นครนิวไทเป เพื่อสร้างอาคารพิพิธภัณฑ์ศาสนาโลก และเนื่องจากพิพิธภัณฑ์ศาสนาโลกใช้ระยะเวลาในการก่อสร้างนานกว่า 10 ปี จึงสามารถเปิดได้อย่างเป็นทางการในวันที่ 9 พฤศจิกายน ค.ศ. 2001 และวันดังกล่าวยังถูกกำหนดให้เป็น “วันสมานฉันท์ศาสนาโลก” โดยมีผู้นำศาสนาและตัวแทนจำนวน 120 ท่าน จาก 38 ประเทศทั่วโลกมาที่ไต้หวันเพื่อแสดงความยินดีและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นซึ่งกันและกัน ทั้งนี้ การก่อตั้งพิพิธภัณฑ์ศาสนาโลกมีจุดประสงค์เพื่อมุ่งหวังให้ศาสนิกชนมีความเข้าใจเกี่ยวกับนานาศาสนา การเรียนรู้ที่จะให้อภัยซึ่งกันและกันระหว่างกลุ่มชาติพันธุ์ต่าง ๆ และการปฏิบัติต่อกันฉันท์พี่น้อง โดยตั้งแต่ปี ค.ศ. 2008 เป็นต้นมา ในฤดูใบไม้ผลิของทุกปีช่วงเทศกาลตรุษจีนจะมีการจัดงานขอพรเพื่อสันติภาพแห่งศาสนาโลก ซึ่งพระธรรมาจารย์ซินเต้าได้เข้าร่วมเสวนาเกี่ยวกับนานาศาสนาซึ่งเป็นอีกช่องทางหนึ่งในการปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม
การขยายงานด้านการกุศล สันติภาพ และการแลกเปลี่ยนระหว่างประเทศ
ปี ค.ศ. 1996 พระธรรมาจารย์ซินเต้าได้เดินทางไปประเทศตุรกี อิสราเอล ฯลฯ เพื่อเยี่ยมชมโบราณสถานอันศักดิ์สิทธิ์ของศาสนาอิสลาม ศาสนายิว และศาสนาบาไฮ และในปีเดียวกันนั้น ท่านได้เดินทางไปยังประเทศไทยเพื่อเข้าร่วมการประชุมศาสนาและสันติภาพในประชาคมอาเซียน ต่อมาในปี ค.ศ. 1999 ท่านเดินทางไปเคปทาวน์ ประเทศแอฟริกาใต้ เพื่อเข้าร่วมการประชุมศาสนาโลก ครั้งที่ 3 และได้กล่าวปาฐกถาหัวข้อ “พุทธศาสนาในโลกแห่งศตวรรษที่ 21 -- ความคิด ประสบการณ์ และความปรารถนาของอาตมา” และ “ความท้าทายทางจิตวิญญาณแห่งสหัสวรรษ -- ความหวังในพิพิธภัณฑ์ศาสนาโลก” ในที่ประชุม พร้อมทั้งได้เสวนากับมิตรชาวต่างชาติเกี่ยวกับแนวคิดด้านศาสนา สันติภาพ ฯลฯ นับจากนั้นเป็นต้นมา ท่านก็ได้รับเชิญให้เข้าร่วมการประชุมศาสนาโลก ครั้งที่ 4-8 เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ความเห็นระหว่างพระภิกษุกับนักวิชาการทางศาสนาจากประเทศต่าง ๆ และยังได้รับเชิญให้เข้าร่วม “การประชุมผู้นำสูงสุดแห่งศาสนาเพื่อสันติภาพในอาเซียนซัมมิทแห่งสหัสวรรษ” ในปี ค.ศ. 2000 โดยในระหว่างการประชุมดังกล่าวได้จัดให้มีการสวดมนต์ภาวนาไปด้วย ซึ่งท่านยังได้รับเชิญให้เข้าร่วมกลุ่มสันติภาพนานาศาสนาแห่งสหประชาชาติภายหลังการประชุมนั้น
ปี ค.ศ. 2002 พระธรรมาจารย์ซินเต้าได้ก่อตั้งองค์การนอกภาครัฐ “มูลนิธิสหพันธ์เพื่อความรักและสันติภาพ” ที่นครนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา เพื่อส่งเสริมการแลกเปลี่ยนและเสวนาเกี่ยวกับนานาศาสนา ในฐานะเป็นผู้ก่อตั้ง “มูลนิธิสหพันธ์เพื่อความรักและสันติภาพ” และได้รับเชิญให้เข้าร่วมการประชุมเอ็นจีโอแห่งสหประชาชาติ ครั้งที่ 55 และงานพิธีรำลึกเหตุการณ์ 9/11 ซึ่งท่านได้เข้าร่วมภาวนาพร้อมกับนายโคฟี อันนัน นักการทูตชาวกานา และอดีตเลขาธิการองค์การสหประชาชาติ ในปีเดียวกันนั้นท่านได้จัดงาน “การเสวนาระหว่างศาสนาอิสลามและศาสนาพุทธ ครั้งที่ 1” ที่มหาวิทยาลัยโคลัมเบีย สหรัฐอเมริกา โดยท่านยังคงส่งเสริมและสนับสนุนการเจรจาอย่างสันติระหว่างนานาศาสนาด้วยการปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรมตลอดหลายปีที่ผ่านมา ในปี ค.ศ. 2021 ได้จัดงาน“การเสวนาระหว่างศาสนาอิสลามและศาสนาพุทธ ครั้งที่ 17 และการเสวนาระหว่างเยาวชนมุสลิม-พุทธ ครั้งที่ 2 : การดำเนินงานนิเวศวิทยาแนวจิตวิญญาณ” โดยในช่วง 20 ปีที่ผ่านมา ท่านได้จัดงานในประเทศต่าง ๆ เช่น จาการ์ต้า (อินโดนีเซีย) ปารีส (ฝรั่งเศส) เตหะราน (อิหร่าน) บาร์เซโลนา (สเปน) ปักกิ่ง (จีน) ไทเป (ไต้หวัน) ประเทศโมร็อกโก ฯลฯ ซึ่งครอบคลุมทั้ง 3 ทวีป คือ ยุโรป เอเชีย และแอฟริกา
ปี ค.ศ. 2003 ท่านได้เข้าร่วมกล่าวปาฐกถาในการประชุมองค์การนอกภาครัฐประจำปี จัดโดยสำนักงานใหญ่องค์การสหประชาชาติ หัวข้อ “การเจรจาทางศาสนาต่อการอุทิศตนเพื่อสันติภาพ” และในปี ค.ศ. 2004 ทางพิพิธภัณฑ์ศาสนาโลกและความร่วมมือโกลเด้น สมาคมสันติภาพ และศาลาว่าการไทเป ได้ร่วมกันจัดงาน “จิตวิญญาณและความยั่งยืนของระบบนิเวศ : น้ำ -- แหล่งกำเนิดของพวกเรา” ในระหว่างการประชุมนานาชาติ ท่านได้กล่าวปาฐกถาหัวข้อ “จริยธรรมและสันติภาพโลก : หน้าที่ของศาสนาในปัจจุบัน” ต่อมาในปี ค.ศ. 2014 ท่านเดินทางไปร่วมงานเสวนา “จิตวิญญาณของมนุษย์” ที่กรุงเรคยาวิก ประเทศไอซ์แลนด์ โดยกล่าวถึงความสำคัญของความรักและสันติภาพ หลังจากนั้น ในปี ค.ศ. 2016 ท่านเดินทางไปศูนย์ส่งเสริมการเจรจานานาศาสนาและวัฒนธรรมนานาชาติ ซึ่งจัดตั้งโดยกษัตริย์อับดุลลาห์ของราชอาณาจักรซาอุดิอาระเบีย ณ กรุงเวียนนา ประเทศออสเตรีย พระธรรมาจารย์ซินเต้าได้กล่าวปาฐกถาเกี่ยวกับการรักษ์โลกและสันติภาพ และได้แบ่งปันประสบการณ์การแลกเปลี่ยนนานาศาสนาอีกด้วย
ปี ค.ศ. 2017 ท่านได้เดินทางไปนครรัฐวาติกันเพื่อเข้าพบสมเด็จพระสันตะปาปาฟรานซิส (โป๊ปฟรานซิส) ประมุขแห่งศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิก และได้เชิญพระสันตะปาปาฟรานซิสเข้าร่วมขบวนการรักษ์โลกและรักสันติภาพ ในปีเดียวกันนั้น กลุ่มธรรมศึกษาหลิงจิวซานได้รับมอบหมายให้เข้าร่วมกับคณะกรรมการสังฆราชวาติกันเพื่อร่วมจัดเสวนาการประชุมนานาชาติระหว่างพุทธ-คริสต์ศาสนิกชน ครั้งที่ 6 โดยมีสาระสำคัญ คือ “พุทธ-คริสต์ศาสนิกชนร่วมเดินเคียงบ่าเคียงไหล่เพื่อยุติการใช้ความรุนแรง” จากนั้น ปี ค.ศ. 2021 ท่านเข้าร่วมประชุมงาน “ความเชื่อกับวิทยาศาสตร์ : การประชุมสมัชชาประเทศภาคีอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ครั้งที่ 26” ที่จัดโดยสถานทูตไต้หวันประจำนครวาติกัน ณ กรุงโรม ประเทศอิตาลี และอังกฤษ โดยเสนอแนวคิด “การหวนคืนสู่จิตวิญญาณแห่งปัญญา โดยตระหนักว่าสรรพสิ่งล้วนมีรากเหง้าและมีที่มาจากที่เดียวกัน” และเน้นย้ำว่า “การยุติสงครามและอาวุธนิวเคลียร์มีความสำคัญต่อความยั่งยืนทางชีวภาพของระบบนิเวศ”
เมื่อวันที่ 3 มีนาคม ค.ศ. 2022 พระธรรมจารย์ซินเต้าได้แสดงความเห็นเกี่ยวกับสงครามรัสเซีย-ยูเครน โดยกล่าวว่า “เราควรยุติสงครามเพื่อรักษาสมดุลของระบบนิเวศ” ขณะเดียวกันท่านได้เชิญศาสนิกชนจากทุกศาสนามาร่วมกันสวดมนต์อธิษฐานจิตให้แก่ประชาชนผู้ได้รับความสูญเสียจากสงคราม [6]
ส่งเสริมงานด้านการศึกษา วัฒนธรรม และการกุศล
พระธรรมาจารย์ซินเต้ามีความห่วงใยต่อเหล่ามวลชนทั้งหลาย และมักจะให้กำลังใจแก่สามเณรว่า “ชีวิตรับใช้ชีวิต ชีวิตอุทิศแด่ชีวิต” ท่านพยายามขับเคลื่อนงานด้านการศึกษา วัฒนธรรม และการกุศลอย่างเต็มที่ ในปี ค.ศ. 1989 ได้มีการก่อตั้งมูลนิธิธรรมปัญญาศึกษาวัดหลิงจิวซาน ปี ค.ศ. 1990 ได้ก่อตั้งสมาคมอนุรักษ์ธรรมหลิงจิวซาน ปี ค.ศ. 1994 ได้ก่อตั้งมูลนิธิจิตอาสาหลิงจิวซาน ซึ่งได้รับการยกย่องหลายครั้งจากกระทรวงมหาดไทยไต้หวัน กระทรวงวัฒนธรรม ศาลาว่ากลางนครนิวไทเป อีกทั้งยังเป็นต้นแบบให้แก่กลุ่มงานศาสนาและกลุ่มงานประชาสงเคราะห์อีกด้วย ต่อมาในปี ค.ศ. 2003 ได้จัดตั้งสำนักพุทธศาสนา 3 นิกาย เพื่อเสริมสร้างแรงผลักดันและแนวทางการพัฒนาเพื่อการศึกษาของพระภิกษุ และในแต่ละปีได้มีการกำหนดวิธีปฏิบัติสมาธิด้วยวิธีปลิกวิเวกสำหรับพุทธศาสนิกชนเพื่อให้เหมาะสมและสอดคล้องกับผู้คนในแต่ละโอกาส จึงทำให้มีความหลากหลายและความยืดหยุ่น นอกจากการปฏิบัติสมาธิ จาริกแสวงบุญ การประกอบพิธีกรรมทางศาสนาแล้ว ยังได้จัดค่ายอบรมพุทธศาสนาสำหรับสามเณรน้อย ค่ายอบรมพุทธศาสนาสำหรับเยาวชน สำนักพุทธฮุ่ยมิ่งเฉิงจ่าง (แปลว่า การดำเนินชีวิตด้วยปัญญา) ศูนย์การศึกษาสันติภาพแห่งชีวิตหลงซู่ และส่งเสริมให้โรงเรียนมีการฝึกสมาธิซึ่งได้สนับสนุนมาอย่างยาวนาน เป็นต้น จากนั้น ปี ค.ศ. 2014 พระธรรมาจารย์ซินเต้าได้รวบรวมผลการบำเพ็ญธรรมทางพุทธศาสนาของท่านเป็นเวลาหลายปี เพื่อให้สอดคล้องกับธรรมะของพระพุทธเจ้า “มหานิพพาน 4 ขั้นตอน” เริ่มมีการบรรยายหลักสูตรเบื้องต้นตามที่ต่าง ๆ “มหานิพพาน 4 ขั้นตอน” ประกอบด้วย ขั้นตอนธัมมจักกัปวัตตน(อาหาน) ขั้นตอนมหาปรัชญามิตา(โปรุ่ย) ขั้นตอนสัทธรรมปุณฑริก(ฝ่าหัว) และขั้นตอนอวตังสกะ(หัวเหยียน) โดยยึดการปฏิบัติสมาธิเป็นหลัก ดำเนินการตามหลักธรรมของพระพุทธเจ้าแต่แฝงไปด้วยหลักคำสอน ระบบการฝึกอบรม การจัดการระบบและพระธรรมเทศนาสำหรับพระภิกษุและฆราวาส ไม่เพียงแต่เป็นวิถีแห่งการศึกษาหลักธรรมคำสอนเท่านั้น แต่ยังเป็นการศึกษาหนทางสู่พระนิพพานอีกด้วย
พระธรรมาจารย์ซินเต้าเชื่อว่าวัฒนธรรมสามารถช่วยขัดเกลาจิตใจคนและฟื้นฟูคุณค่าทางจริยธรรมที่หายไปให้กลับคืนมาได้ จึงได้จัดตั้งรางวัลวรรณกรรมทางศาสนาตั้งแต่ปี ค.ศ. 2002 ขณะเดียวกันได้จัดตั้งหน่วยงานสำนักพิมพ์ในเครือมูลนิธิธรรมปัญญาศึกษาวัดหลิงจิวซาน โดยจัดพิมพ์หนังสือบทสวดมนต์ หลักธรรมคำสอน หนังสือหมวดศาสนาและวิดีทัศน์ สินค้าครีเอทีฟ และได้จัดพิมพ์วารสารศาสนาด้านต่าง ๆ เช่น ด้านวิชาการ ได้แก่ วารสารรายปักษ์ “การวิจัยหลักธรรมนานาชาติ” “รวบรวมฉบับแปล” “การศึกษาและวัฒนธรรมโปรุ่ย” “คนที่มีวาสนาต่อกัน” “พิพิธภัณฑ์ศาสนา” วารสารรายครึ่งปี “การศึกษาศาสนาในโลกแห่งศตวรรษใหม่” “วิชาชีวิต” นิตยสารรายปักษ์ “สันติภาพแห่งชีวิต” วารสารรายฤดูกาล “บ้านมุ่งมั่น” เป็นต้น และจัดเสวนา กิจกรรมและนิทรรศการต่าง ๆ ปี ค.ศ. 2003 ได้จัดตั้งรางวัลผู่เหรินขึ้นเป็นพิเศษ เพื่อช่วยเหลือเด็กนักเรียนเป็นจำนวนมาก โดยในงานพิธีโยคะตันตระเปรตพลีที่จัดขึ้นทุกปีจะได้รับบริจาคข้าวสาร เกลือ น้ำมัน และสิ่งของต่าง ๆ จากสาธุชนผู้มีจิตศรัทธามาร่วมบริจาค และตลอดหลายปีที่ผ่านมาก็ได้นำของที่ได้รับบริจาคเหล่านั้นไปบริจาคให้กับองค์กรเพื่อการกุศลและครอบครัวที่มีรายได้น้อยต่อไป
นอกจากการบริจาคสิ่งของเพื่อการกุศลดังกล่าวแล้ว กลุ่มธรรมศึกษาหลิงจิวซานภายใต้การนำของพระธรรมาจารย์ซินเต้า ยังได้ประกอบพิธีจุดเทียนสวดมนต์อธิษฐานจิตทุกวันและบริจาคสิ่งของเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยจากเหตุการณ์แผ่นดินไหวครั้งใหญ่ 9/21 ในไต้หวัน การเกิดคลื่นสึนามิในมหาสมุทรอินเดีย เหตุการณ์พายุหมุนนาร์กิส เหตุการณ์แผ่นดินไหวในมณฑลเสฉวน ประเทศจีน เหตุการณ์แผ่นดินไหวที่ประเทศเฮติ และล่าสุดเหตุการณ์แผ่นดินไหวในประเทศเนปาล ซึ่งการกระทำดังกล่าวเป็นการแสดงออกถึงความรักความเมตตาโดยไม่เลือกปฏิบัติ ตั้งแต่การให้การรักษาพยาบาล คลินิกการกุศล การทำความสะอาดสิ่งแวดล้อม โครงการอาหารเช้าเติมความรัก การดูแลผู้สูงอายุที่อยู่ตามลำพัง การสร้างที่อยู่อาศัยและระบบน้ำดื่ม การสร้างที่อยู่อาศัยให้แก่เด็กกำพร้า การให้ความช่วยเหลือด้านการศึกษาและการดูแลด้านจิตวิญญาณด้วยการให้กำลังใจ ซึ่งการช่วยเหลือดังกล่าวนี้แสดงให้เห็นถึงความเห็นอกเห็นใจและความห่วงใยของพระธรรมาจารย์ซินเต้าต่อสรรพสัตว์ทั้งหลาย
ก่อตั้งมหาวิทยาลัยชีวิตและสันติภาพ (เซิงมิ่งเหอผิง)
เพื่อความอุดมสมบูรณ์ของระบบนิเวศโดยรวมของโลกและเพื่อความยั่งยืนของสิ่งมีชีวิต ความตื่นตัวต่อระบบนิเวศทางจิตวิญญาณ พระธรรมาจารย์ซินเต้าวางแผนก่อตั้งมหาวิทยาลัยชีวิตและสันติภาพแห่งหนึ่งขึ้นในสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา โดยหวังว่าจะอาศัยมหาวิทยาลัยเป็นช่องทางเชื่อมโยงผู้ที่รักษ์โลกและรักสันติภาพเพื่อความร่วมมือในการทำงาน ซึ่งตั้งอยู่บนพื้นฐานของสันติภาพโดยการทำงานในด้านต่าง ๆ ได้แก่ การศึกษา วัฒนธรรม ศาสนา การเกษตรอินทรีย์ การแพทย์ การกุศล เป็นต้น เมื่อเดือนมิถุนายน ปี ค.ศ. 2016 ได้ทำการเปิดศูนย์การศึกษาเหน่ามุนซาเอ่อ ประเทศเมียนมา (รัฐฉาน เมืองล่าเสี้ยว บ้านเหน่ามุน) พร้อมทั้งเปิดรับสมัครนักเรียนรุ่นแรกอย่างเป็นทางการและพระธรรมาจารย์ซินเต้าได้กล่าวว่า จะมีการเปิดรับสมัครนักเรียนเพิ่มในอนาคตเพื่อบ่มเพาะเมล็ดพันธุ์แห่งธรรมะและสันติภาพ ต่อมาในปี ค.ศ. 2017 ได้ก่อตั้งมหาวิทยาลัยชีวิตและสันติภาพที่แมนฮัตตัน นครนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา และในปีเดียวกันนั้น เมื่อวันที่ 29-30 พฤษภาคม และวันที่ 27-30 กันยายน ได้มีการจัดการประชุมคลังสมองของมหาวิทยาลัยชีวิตและสันติภาพ ครั้งที่ 1 ที่นครเรเกินส์บวร์ค ประเทศเยอรมัน และการประชุมคลังสมองของมหาวิทยาลัยชีวิตและสันติภาพ ครั้งที่ 2 ที่ประเทศเมียนมา ตามลำดับ
เมื่อวันที่ 8 และ 10 ตุลาคม ปี ค.ศ. 2017 กลุ่มธรรมศึกษาหลิงจิวซานได้จัดงานแสดงดนตรีชีวิตและสันติภาพขึ้น 2 รอบ ที่นครเกาสงและกรุงไทเป พระธรรมาจารย์ซินเต้าได้ประกาศอย่างเป็นทางการต่อสังคมไต้หวันในการก่อตั้งมหาวิทยาลัยชีวิตและสันติภาพ เดือนมกราคม ปี ค.ศ. 2018 นายเพียว มิน เถียน ผู้ว่าราชการเมืองย่างกุ้ง ประเทศเมียนมา ได้เข้าพบพระธรรมาจารย์ซินเต้า และสัญญาว่าจะช่วยเหลือในการก่อสร้างมหาวิทยาลัยชีวิตและสันติภาพ เดือนกุมภาพันธ์ ปี ค.ศ. 2018 ทางกลุ่มธรรมศึกษาหลิงจิวซานได้ซื้อที่ดินจำนวน 607,028 ตารางวา ที่เมืองพะโค ประเทศเมียนมา เพื่อสร้างมหาวิทยาลัยชีวิตและสันติภาพ ต่อมาวันที่ 23-24 พฤษภาคม ปี ค.ศ. 2018 ได้มีการจัดประชุมคลังสมองของมหาวิทยาลัยชีวิตและสันติภาพ ที่ประเทศออสเตรีย จากนั้น มหาวิทยาลัยชีวิตและสันติภาพจึงได้เปิดเทอมภาคฤดูหนาว รุ่น 1 ระหว่างวันที่ 9-23 มกราคม ปี ค.ศ. 2019 โดยมีสาระสำคัญ คือ “การสำรวจปัญหาที่หยั่งรากลึกของวิกฤตทางระบบนิเวศวิทยา : มุ่งสู่กลยุทธ์ใหม่” ที่เมืองย่างกุ้ง ประเทศเมียนมา ต่อมาได้เปิดเทอมภาคฤดูหนาว รุ่น 2 ระหว่างวันที่ 8-18 มกราคม ปี ค.ศ. 2020 โดยมีสาระสำคัญ คือ “การบำบัดโลก : ปฏิบัติการหมุนเวียนของระบบนิเวศและเทคโนโลยี” ที่เมืองย่างกุ้ง ประเทศเมียนมา และเปิดเทอมภาคฤดูหนาว รุ่น 3 ระหว่างวันที่ 22-23 และ 29-30 มกราคม ปี ค.ศ. 2021 ในหัวข้อ “กำหนดแผนยุทธการ : ด้วยสถานการณ์ระบบนิเวศของสิ่งแวดล้อมที่ต้องแก้ไขอย่างเร่งด่วนในปัจจุบัน เราควรกำหนดและดำเนินการให้สอดคล้องกับนโยบายอย่างไร” ผ่านการเรียนการสอนออนไลน์ ภายหลังวันที่ 8 ธันวาคม ปี ค.ศ. 2021 พระธรรมาจารย์ซินเต้ากับอธิการบดีสถาบันยูเนสโกวิศวกรรมศาสตร์สิ่งแวดล้อมทางน้ำนานาชาติแห่งประเทศเนเธอร์แลนด์ ดร. เอ็ดดี้ มัวซ์ ได้ร่วมลงนามในหนังสือให้ความร่วมมือ ว่าด้วยความร่วมมือในการดำเนินงานด้านสิ่งแวดล้อมทางน้ำ
เกียรติคุณและรางวัล
ปี ค.ศ. 2005 รางวัลเกียรติคุณ “พุทธคุณูปการด้านการเผยแผ่ธรรมะดีเด่น” จากประเทศศรีลังกา
ปี ค.ศ. 2005 รางวัล “โมติลัล เนห์รู แห่งชาติเพื่อสันติสุข การให้อภัย และความปรองดอง” จากมูลนิธิความกลมเกลียวระหว่างนานาศาสนาสัมพันธ์ ประเทศอินเดีย
ปี ค.ศ. 2006 รางวัลเกียรติยศ “ในฐานะผู้มีผลงานดีเด่นในการเผยแผ่พระพุทธศาสนา” จากสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา
ปี ค.ศ. 2010 รางวัล “ความเป็นเลิศด้านการอบรมการฝึกปฏิบัติสมาธิ” จากสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา
ปี ค.ศ. 2010 ได้รับการคัดเลือกให้เป็น “บุคคลที่มีวิสัยทัศน์นานาศาสนาสัมพันธ์ทั่วโลก” จากวัดหลีเจี่ย สหรัฐอเมริกา
ปี ค.ศ. 2013 รางวัล “ผู้ทำคุณประโยชน์ต่อพระพุทธศาสนา ” รุ่นที่ 2 จากวัดบวรนิเวศราชวรวิหาร ประเทศไทย
ปี ค.ศ. 2014 รางวัลเกียรติยศ “อาจารย์ผู้มีผลสัมฤทธิ์สูงสุดด้านการอบรมการฝึกปฏิบัติสมาธิ” จากสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา
ปี ค.ศ. 2021 โล่รางวัล “สาขาวรรณกรรมและศิลปะ กระทรวงวัฒนธรรม สาธารณรัฐจีน (ไต้หวัน) ครั้งที่ 1” (พิพิธภัณฑ์ ศูนย์วัฒนธรรมท้องถิ่น และศูนย์พัฒนาชุมชน)
หนังสือฉบับภาษาต่างประเทศ
Birds in the Heart (1999) Ling Jiou Mountain Press
วิหคในหัวใจ พิมพ์ : ปี ค.ศ. 1999 สำนักพิมพ์วัดหลิงจิวซาน
Weisheit und Barmherzigkeit (January 2001) Aquamarin Verlag GmbH
คุณธรรมกับความเมตตา พิมพ์ : มกราคม ปี ค.ศ. 2001 สำนักพิมพ์อความารีน
Mountain, Ocean, Space, People (2007) Ling Jiou Mountain Prajna Cultural and Educational Foundation
ภูเขา ทะเล สวรรค์ มนุษย์ พิมพ์ : ปี ค.ศ. 2007 สำนักพิมพ์ในเครือมูลนิธิธรรมปัญญาศึกษาวัดหลิงจิวซาน
The Way of the Heart: The Teachings of Dharma Master Hsin Tao (November 2016) CreateSpace Independent Publishing Platform
หนทางสู่จิต : สอนโดยพระธรรมาจารย์ซินเต้า พิมพ์ครั้งแรก : พฤศจิกายน ปี ค.ศ. 2016 สำนักพิมพ์ครีเอท สเปซ เสรี
The Buddhist Voyage beyond Death (November 2016) Cambridge Scholars Publishing
การแสวงบุญของชาวพุทธหลังความตาย พิมพ์ครั้งแรก : พฤศจิกายน ปี ค.ศ. 2016 สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์
The Power of Zen Meditation: Ten Spiritual Dialogues With Dharma Master Hsin Tao (September 2018) Balboa Press
พลังแห่งการนั่งสมาธิ : บันทึกการสนทนาธรรมแห่งการรู้แจ้ง10 รอบระหว่างพระอาจารย์กับศิษย์ พิมพ์ครั้งแรก กันยายน ปี ค.ศ. 2018 สำนักพิมพ์บัลบัว
Living Zen Happy Life: Timeless Zen Wisdom for your Daily Joy and Ultimate Peace (September 2021) Balboa Press
สมาธิเพื่อการมีชีวิตอย่างเป็นสุข : ปัญญาเพื่อการดำเนินชีวิตและสันติสุข พิมพ์ครั้งแรก : กันยายน ปี ค.ศ. 2021 สำนักพิมพ์บัลบัว